Page 59 - แผนยุทธศาสตร์การพัฒนาโรงพยาบาลตราด พ.ศ.2561-2565
P. 59
แผนยุทธศาสตร์การพัฒนาโรงพยาบาลตราด (พ.ศ. ๒๕๖๑ – ๒๕๖๕)
(3) บูรณาการระบบงานคุณภาพสู่งานประจ าโดยการเชื่อมโยงกับหน้าที่และความรับผิดชอบ
(Job Descriptive) ระบบประเมินผลระดับบุคคล (Performance Agreement) การพิจารณาความดี
ความชอบ ค่าตอบแทนและประโยชน์เกื้อกูล
(4) สร้างระบบเทคโนโลยีสารสนเทศเพื่อใช้ในการติดตามประเมินผล ปรับปรุง และพัฒนาอย่าง
ต่อเนื่องทั้งในระบบคุณภาพของโรงพยาบาลและระบบคุณภาพของหน่วยงาน พร้อมเสริมสร้างขีด
ความสามารถของบุคลากรในทุกหน่วยงานให้สร้างสรรค์นวัตกรรมในระบบคุณภาพ
(5) ส่งเสริมให้ทุกหน่วยงานของโรงพยาบาลสร้างสรรค์สิ่งใหม่ นวัตกรรมเพื่อการพัฒนางาน
คุณภาพของหน่วยงาน โดยการน าเกณฑ์ AHA เข้ามาใช้เป็นแนวทาง พร้อมให้มีการสร้างแรงจูงใจแก่หน่วยงาน
ที่สามารถสร้างสรรค์สิ่งใหม่ในระบบคุณภาพที่สามารถน ามาใช้ในการเพิ่มคุณค่าแก่ภารกิจให้พัฒนาอย่าง
ต่อเนื่อง
(6) แสวงหาความร่วมมือกับพันธมิตรเครือข่ายสุขภาพทั้งในเขตสุขภาพ ระดับประเทศเพื่อ
ยกระดับระบบคุณภาพของโรงพยาบาล พร้อมทั้งแสวงหาแนวปฏิบัติที่ดี (Best Practice) เพื่อน ามาปรับใช้ใน
การพัฒนาระบบคุณภาพของโรงพยาบาล
6) สร้ำงสรรค์ระบบบริกำรทำงกำรแพทย์ที่มีควำมปลอดภัยไร้รอยต่อ ผู้รับบริกำรได้รับควำม
สะดวกสบำย
มาตรการและแนวทางปฏิบัติ
(1) พัฒนาระบบบริการ Palliative Care Center ที่สามารถให้บริการครอบคลุมทั้งภายในและ
ภายนอกโรงพยาบาลโดยเน้น
- สร้างระบบการดูแลผู้ป่วยระยะสุดท้ายแบบครบวงจร และสมศักดิ์ศรีความเป็นมนุษย์
พร้อมทั้งพัฒนาระบบการดูแลและฟื้นฟูสุขภาพจิตของญาติผู้เสียชีวิต โดยการบูรณาการหลักธรรมทางศาสนา
มาเตรียมสภาพจิตใจของผู้ป่วยระยะสุดท้าย
- ปรับปรุงพื้นที่ห้องดับจิตและภูมิทัศน์รอบข้างให้มีความเหมาะสมต่อเกียรติและศักดิ์ศรี
ความเป็นมนุษย์ครั้งสุดท้ายแก่ผู้เสียชีวิต พร้อมทั้งการจัดระบบการอ านวยความสะดวกแก่ญาติด้วยการสร้าง
ชุดบริการที่ญาติสามารถเลือกใช้บริการได้ตามศักยภาพของญาติผู้ใช้บริการ
(2) สร้างระบบบริการที่โดดเด่นด้านการบริการด้วยหัวใจความเป็นมนุษย์ (Humanized Health
Care) โดย
- สร้างระบบการดูแลผู้ป่วยในโดยทีมสหวิชาชีพ โดยดูแลแบบองค์รวม พิทักษ์สิทธิผู้ป่วย
และศักดิ์ศรีความเป็นมนุษย์ ความเท่าเทียมของการได้รับบริการที่มีคุณภาพ ให้ความส าคัญกับการดูแลคน
พิการ ผู้ด้อยโอกาสทางสังคม ให้ได้รับการดูแลอย่างเหมาะสมและสมบูรณ์ตามสิทธิของผู้ป่วย
- สร้างอัตลักษณ์การบริการของโรงพยาบาลที่เน้นความเป็นรูปธรรมอย่างเข้มแข็งภายใต้
หลัก “รับผิดชอบ บริการดี มีน้ าใจ”
- ส่งเสริมให้ผู้มีจิตศรัทธา จิตอาสา เข้าสู่กระบวนการพัฒนาเป็นจิตอาสาบริการสุขภาพ
เพื่อส่งเสริมการมีส่วนร่วมของประชาชน หนุนเสริมการอยู่ร่วมกันอย่างเอื้ออาทรของสังคมจังหวัดตราด
(3) ปรับระบบบริการผู้ป่วยในโรงพยาบาล โดยเน้นให้เกิดความสะดวก ปลอดภัย ทั้งผู้ให้และ
ผู้รับบริการ
- น าระบบ Lean Management, Risk Management, Patient Value Chain Management
- จัดระบบการบริการดูแลผู้ป่วยที่มีปัญหาสุขภาพของโรคหลายๆ โรค ให้เป็น One Stop
Service โดยทีมแพทย์สหสาขา
หน้า 54