Page 55 - แผนยุทธศาสตร์การพัฒนาโรงพยาบาลตราด พ.ศ.2561-2565
P. 55
แผนยุทธศาสตร์การพัฒนาโรงพยาบาลตราด (พ.ศ. ๒๕๖๑ – ๒๕๖๕)
ประเด็นยุทธศำสตร์ที่ 2
Smart Service
: พัฒนำโรงพยำบำลให้มีบริกำรทำงกำรแพทย์ในระดับเชี่ยวชำญ
สมรรถนะสูง ทันสมัย และมีคุณภำพระดับสำกล
๑. แนวคิดและหลักกำร
ยุทธศาสตร์ชาติระยะ ๒๐ ปี ด้านสาธารณสุขก าหนดยุทธศาสตร์ความเป็นเลิศทางการแพทย์
(Service Excellent) โดยการมุ่งส่งเสริมโรงพยาบาลที่มีศักยภาพให้มีความพร้อมในการเป็นศูนย์ความเป็นเลิศ
ทางการแพทย์และการเป็นศูนย์กลางสุขภาพนานาชาติ พร้อมทั้งได้ก าหนดเป้าหมายการปฏิรูปด้านสาธารณสุข
ระยะเร่งด่วน ๑๘ เดือน โดยให้ความส าคัญกับระบบเวชศาสตร์ครอบครัว การจัดระบบ Long Term Care ใน
การดูแลผู้ป่วย การพัฒนาระบบการแพทย์ฉุกเฉิน และมาตรฐาน Emergency Claim Online : EMCO
(เจ็บป่วยฉุกเฉินวิกฤต มีสิทธิทุกที่)
จังหวัดตราดยังมีปัญหาของการเจ็บป่วย ป่วยตาย และปัจจัยแวดล้อมที่เสี่ยงต่อสุขภาพของ
ประชาชนเพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่อง โดยเฉพาะการเจ็บป่วยจากพฤติกรรมสุขภาพที่ส่งผลมายังการเพิ่มขึ้นของการ
เจ็บป่วยด้วยโรคไม่ติดต่อเรื้อรัง การเสียชีวิตก่อนวัยอันควรจากโรคไม่ติดต่อ เนื่องจากมีพฤติกรรมการบริโภคที่
ไม่เหมาะสม ขาดการออกก าลังกายอย่างต่อเนื่อง รวมทั้งปัจจัยแวดล้อมอื่นๆ ได้แก่ การศึกษา รายได้น้อย ท าให้
ขาดความรู้ความเข้าใจในการด าเนินชีวิต อาทิ ความเสี่ยงในการบริโภคอาหารไม่ปลอดภัย การเผชิญกับปัญหา
การเสียชีวิตจากอุบัติเหตุทางถนน และความเสี่ยงจากการเปลี่ยนแปลงโครงสร้างประชากรที่เปลี่ยนแปลงเข้า
ประชาคมสูงวัย ซึ่งจะเป็นปัญหาของการเจ็บป่วยในโรคไม่ติดเรื้อรังมากขึ้น
ความจ าเป็นของการเป็นเมืองชายแดน และเมืองท่องเที่ยวนานาชาติ ท าให้มีการเพิ่มขึ้นของกลุ่ม
ผู้ใช้บริการทั้งที่เป็นนักท่องเที่ยว ประชากรจากประเทศเพื่อนบ้าน และที่ส าคัญคือการเติบโตขึ้นอย่างต่อเนื่อง
ของวิกฤตสุขภาพ รวมถึงความจ าเป็นในการพัฒนาด้านการจัดบริการทางการแพทย์ในกลุ่มโรคส าคัญของ
จังหวัดตราด ตลอดจนศักยภาพของโรงพยาบาลตามขีดความสามารถและภารกิจของการเป็นโรงพยาบาลตติยภูมิ
ว่ามีโรคที่ส าคัญ คือ อุบัติเหตุฉุกเฉิน โรคเรื้อรัง การจัดบริการสุขภาพแก่ผู้สูงอายุ ซึ่งจากการวิเคราะห์พบว่า
ปัญหาความท้าทายส าคัญ คือ การเตรียมความพร้อมของบุคลากรทางการแพทย์ในระดับเชี่ยวชาญเฉพาะทาง
การพัฒนากระบวนการจัดบริการทางการแพทย์ด้วยความพร้อมของเทคโนโลยี เครื่องมือ และอุปกรณ์ทางการแพทย์
ที่ส าคัญคือคุณภาพของการจัดบริการที่เสริมสร้างความเชื่อมั่นและวางใจได้ของผู้ใช้บริการ
ปัญหาของจัดบริการสุขภาพภายในของโรงพยาบาลที่ส าคัญที่ผู้รับบริการให้ข้อเสนอแนะและ
ร้องเรียน คือ ระบบคิว พฤติกรรมการบริการ ที่จอดรถ สิ่งอ านวยความสะดวก และระยะเวลาการรอคอย
ที่นาน ซึ่งระยะเวลาในการรอรับบริการของผู้ป่วยนอกยังคงสูงอยู่โดยเฉลี่ยอยู่ที่ ๑๐๕.๑๔ นาที (คลินิกทั่วไป)
และคลินิกเฉพาะทาง ๑๕๓.๓๐ นาที ส่วนความท้าทายและปัญหาทางด้านความเสี่ยงทางคลินิก ที่โรงพยาบาล
ประสบอยู่คือด้านความคลาดเคลื่อนทางยา, Endotracheal Tube และด้านตกเลือดหลังคลอด (Post
Partum Haemorrhage) และการพัฒนาบริการสุขภาพภายในโรงพยาบาลยังมีปัจจัยที่ส าคัญโดยเฉพาะ
ทางด้านการจัดบริการทางการแพทย์เพื่อรองรับสังคมผู้สูงอายุ การเพิ่มขึ้นของกลุ่มป่วยโรคเรื้อรัง และการ
เจ็บป่วยจากการเปลี่ยนแปลงของปัจจัยภายนอก ทั้งในและนอกพื้นที่ซึ่งส่งผลต่อการเพิ่มขึ้นของผู้ป่วยกลุ่ม
อุบัติเหตุฉุกเฉิน
หน้า 50