Page 47 - แผนยุทธศาสตร์การพัฒนาโรงพยาบาลตราด พ.ศ.2561-2565
P. 47
แผนยุทธศาสตร์การพัฒนาโรงพยาบาลตราด (พ.ศ. ๒๕๖๑ – ๒๕๖๕)
(๓) พัฒนาศักยภาพ อสม., อสค., ผู้ดูแล, เจ้าหน้าที่สาธารณสุข, อปท. ให้มีความสามารถเป็นแกน
น าในการจัดการวางแผนการดูแลผู้ป่วยกลุ่มเป้าหมายแบบเฉพาะราย พัฒนาระบบ Care Giver ให้ครอบคลุมทุก
พื้นที่
(๔) สร้างจิตอาสาบุคลากรสาธารณสุขที่เกษียณหรือออกจากราชการเพื่อสร้างแรงจูงใจและ
เป็นต้นแบบให้กับประชาชนในพื้นที่ให้มีส่วนร่วมในการดูแลผู้ป่วย
๓) ส่งเสริมการพัฒนาสถานบริการสุขภาพปฐมภูมิสีเขียว (Clean and Green) เป นมิตรต่อ
สิ่งแวดล้อม ให้ควำมส ำคัญกับกำรอนุรักษ์พลังงำน และกำรเสริมสร้ำงภูมิทัศน์และสิ่งแวดล้อมในองค์กร
มาตรการและแนวทางปฏิบัติ
(๑) มีการบริหารจัดการขยะติดเชื้อ, น้ าทิ้ง ตามเกณฑ์ Clean and Green Hospital ในทุก
หน่วยบริการปฐมภูมิ สนับสนุนการสร้างความเข้มแข็งในการปลอดโฟมและถุงพลาสติกทั้งโรงพยาบาลและ
เครือข่าย จัดการขยะในโรงพยาบาลให้เกิดมูลค่า จัดระบบคัดแยกขยะทั่วทั้งองค์กร
(๒) วางระบบการคัดกรองผู้ป่วยในสถานบริการสุขภาพปฐมภูมิ ไม่ก่อให้เกิดความเสี่ยงต่อการ
ให้บริการ โดยการจัดโซนผู้ป่วยโรคติดต่อและไม่ติดต่อ
(๓) ติดตั้งระบบโซลาร์เซลในพื้นที่ Outdoor ของโรงพยาบาล เพื่อลดค่าใช้จ่ายด้านสาธารณูปโภค
การสร้างแหล่งพลังงานของตนเองในรูปแบบ Solar Roof ในโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพต าบล
(๔) การเพิ่มพื้นที่สวนสาธารณะในทุกพื้นที่บริการของสถานบริการสุขภาพปฐมภูมิ
๔) พัฒนำระบบกำรจัดกำรสุขภำพ สร้ำงชุมชนเข้มแข็งให้เกิดขึ้นในทุกต ำบลโดยกำรมีส่วนร่วม
ของภำคีเครือข่ำย
มาตรการและแนวทางปฏิบัติ
(๑) ส่งเสริมให้มีธรรมนูญสุขภาพในชุมชน หมู่บ้าน โดยเฉพาะพื้นที่ที่มีภาวะคุกคามต่อโรคและมี
ความเสี่ยงสูง
(๒) เสริมสร้างการมีบทบาทของผู้น าชุมชนในการเป็นผู้น าการเปลี่ยนแปลงด้านสุขภาพ
(๓) จัดตั้งกองทุนสุขภาพระดับหมู่บ้านเพื่อการดูแลสุขภาพกลุ่มโรคเรื้อรัง ผู้สูงอายุ
(๔) เสริมสร้างขีดความสามารถของ อปท. ให้มีศักยภาพร่วมจัดบริการสุขภาพ ผลิตและพัฒนา
บุคลากรสาธารณสุขและเครือข่ายสุขภาพภาคประชาชนเพื่อรองรับประชาชนในพื้นที่รับผิดชอบของตนเอง
(๕) ส่งเสริมและพัฒนาจิตอาสาในการร่วมเสริมสร้างวิถีสุขภาพและวัฒนธรรมสุขภาพที่เข้มแข็ง
เกิดต้นแบบชุมชนสุขภาพดี
๕) เสริมสร้ำงควำมโดดเด่นของโรงพยำบำลในกำรเป นโรงพยำบำลที่ประสบควำมส ำเร็จในกำร
ส่งเสริมสุขภำพแก่ประชำชนในรูปแบบของโรงพยำบำลตติยภูมิ
มาตรการและแนวปฏิบัติ
(๑) สร้างแนวปฏิบัติในการจัดบริการทางการแพทย์แก่ผู้ป่วย เพื่อให้ผู้ป่วยทุกคนได้รับการ
ส่งเสริมการป้องกันโรคในขณะที่มารับบริการในโรงพยาบาล ตามแนวทางดังนี้
- ให้นักวิชาการสุขศึกษา นักกายภาพ นักโภชนาการ เภสัชกร และทีมสหสาขาวิชาชีพอื่นที่
เกี่ยวข้องมีส่วนร่วมในการให้บริการแก่ผู้ป่วย โดยการให้ความรู้ความเข้าใจในการส่งเสริมสุขภาพ การป้องกัน
ตนเองจากการเกิดโรคที่เข้ามารักษาที่โรงพยาบาลไม่ให้เกิดขึ้นซ้ า พร้อมทั้งการเสริมสร้างทัศนคติในการดูแล
ตนเองด้วยความฉลาดรู้ทางสุขภาพ
- ก าหนดให้ทุกหน่วยบริการของโรงพยาบาลมีกระบวนการปฏิบัติในการส่งเสริม
ป้องกันโรคที่ต้องให้ความรู้ความเข้าใจแก่ผู้ป่วยที่เข้ามาใช้บริการในโรงพยาบาล
หน้า 44