Page 42 - แผนยุทธศาสตร์การพัฒนาโรงพยาบาลตราด พ.ศ.2561-2565
P. 42

แผนยุทธศาสตร์การพัฒนาโรงพยาบาลตราด (พ.ศ. ๒๕๖๑ – ๒๕๖๕)



                                                        บทที่ ๔

                                แผนยุทธศำสตร์กำรพัฒนำโรงพยำบำลตรำด

                                              พ.ศ. ๒๕๖๑ – ๒๕๖๕


                     ทิศทางของแผนยุทธศาสตร์การพัฒนาโรงพยาบาลตราด  พ.ศ. ๒๕๖๑ – ๒๕๖๕  ประกอบด้วย
               วิสัยทัศน์ พันธกิจ เป้าหมายสูงสุดของแผนยุทธศาสตร์ ประเด็นยุทธศาสตร์ และเป้าประสงค์ ดังรายละเอียด
               ต่อไปนี้


               วิสัยทัศน์ (Vision)
                        โรงพยาบาลคุณภาพระดับสากล สมรรถนะสูงและทันสมัย เพื่อประชาชนสุขภาพดีด้วยตนเองอย่าง
               ยั่งยืน (Smart and Modernized Hospital for Sustainable Self-Healthy People)


                        ควำมหมำยของกำรเป นโรงพยำบำลคุณภำพระดับสำกล สมรรถนะสูง และทันสมัย เพื่อประชำชน
               สุขภำพดีด้วยตนเอง อย่ำงยั่งยืน คือ
                        ๑. ความส าเร็จของการจัดบริการทางการแพทย์ในระดับเชี่ยวชาญชั้นสูงแบบองค์รวมที่มีคุณภาพ

               มาตรฐานระดับสากล มีความโดดเด่นด้านอุบัติเหตุฉุกเฉิน การดูแลผู้ป่วยโรคเรื้อรัง การจัดบริการสุขภาพ
               ผู้สูงอายุ และการพัฒนาโรงพยาบาลคุณภาพที่เข้มแข็ง ยั่งยืน ปลอดภัยไร้รอยต่อ ระบบบริการที่มีความเป็นเลิศ
               (Sustainable Quality and Excellent Service Hospital)
                        ๒. เสริมสร้างขีดความสามารถของโรงพยาบาลรองรับการเติบโตขององค์กรที่สอดคล้องกับ

               ยุทธศาสตร์การพัฒนาของประเทศ นโยบายและยุทธศาสตร์กระทรวงสาธารณสุข ทิศทางการพัฒนาของเขต
               สุขภาพที่ ๖ การเสริมสร้างบริการทางการแพทย์รองรับการพัฒนาจังหวัด และการเชื่อมโยงบริการรองรับ
               อาเซียนและนานาชาติ (Wellness Cluster)

                        ๓. การเป็นโรงพยาบาลองค์กรแห่งความสุขที่ยั่งยืนด้วยวัฒนธรรมองค์กรและค่านิยมร่วมที่มีความ
               เข้มแข็ง (Happiness Hospital)
                        ๔. การยกระดับการบริหารและพัฒนาทรัพยากรบุคคลทั่วทั้งโรงพยาบาลให้มีประสิทธิภาพสูง เพิ่ม
               บุคลากรทางการแพทย์ที่มีความเชี่ยวชาญในทุกสาขาโรคอย่างครอบคลุมตามความจ าเป็นของพื้นที่
               เตรียมพร้อมบุคลากรทางการแพทย์และทีมสนับสนุนให้มีขีดความสามารถในทักษะสากล (ภาษาอังกฤษและ

               เทคโนโลยีสารสนเทศ) (Human Resource Quality)
                        ๕. การพัฒนาโรงพยาบาลสู่องค์กรสมรรถนะสูงที่มีขีดความสามารถในการปรับเปลี่ยนองค์กรได้ทันตามความ
               เปลี่ยนแปลง เป็นองค์กรนวัตกรรม และองค์กรที่พึ่งตนเองได้ (High Performance and Smart Hospital)

                        ๖. ยกระดับการบริการและการบริหารให้มีความทันสมัยเพื่อการเติบโตสู่การเป็นโรงพยาบาลแห่ง
               อนาคตที่สมบูรณ์ตามเกณฑ์มาตรฐานองค์กรดิจิทัล มุ่งใช้เทคโนโลยีสารสนเทศเพื่อการอ านวยความสะดวกแก่
               ประชาชนและผู้ใช้บริการ เพิ่มประสิทธิภาพในการจัดบริการและการบริหารให้เกิดความสะดวก รวดเร็ว และ
               ทั่วถึง (Digital Hospital)

                        ๗. การมีระบบสุขภาพเชิงพื้นที่เข้มแข็ง เน้นการพัฒนาคุณภาพการจัดบริการของเครือข่ายบริการ
               สุขภาพโรงพยาบาลให้มีมาตรฐาน เพิ่มประสิทธิภาพการส่งต่อระหว่างกัน พัฒนาระบบข้อมูลสารสนเทศทาง







                                                                                                    หน้า 39
   37   38   39   40   41   42   43   44   45   46   47