Page 45 - แผนยุทธศาสตร์การพัฒนาโรงพยาบาลตราด พ.ศ.2561-2565
P. 45
แผนยุทธศาสตร์การพัฒนาโรงพยาบาลตราด (พ.ศ. ๒๕๖๑ – ๒๕๖๕)
ประเด็นยุทธศำสตร์ที่ 1
Smart Primary Health Care
: พัฒนำคุณภำพกำรจัดบริกำรของหน่วยบริกำรสุขภำพปฐมภูมิให้มีมำตรฐำน
และจัดกำรปัญหำสุขภำพของประชำชนในพื้นที่รับผิดชอบได้อย่ำงยั่งยืน
๑. แนวคิดและหลักกำร
แผนยุทธศาสตร์ชาติ ๒๐ ปี ด้านสาธารณสุขมุ่งเน้นที่จะบูรณาการการมีส่วนร่วมของพหุภาคี พัฒนา
ระบบการแพทย์ปฐมภูมิ พัฒนาคุณภาพชีวิตทุกกลุ่มวัย การป้องกัน ควบคุมโรค และภัยสุขภาพ การจัดการ
ความปลอดภัยด้านอาหาร ลดปัจจัยเสี่ยงต่อโรคไม่ติดต่อเรื้อรัง และการบริหารจัดการสิ่งแวดล้อม โดย
มีเป้าหมายส าคัญคือประชาชนสุขภาพดี พร้อมทั้งก าหนดการปฏิรูปด้านสาธารณสุขระยะเร่งด่วน โดยเน้น
การบูรณาการร่วมกับกระทรวงมหาดไทย กระทรวงศึกษาธิการ กระทรวงพัฒนาสังคมและความมั่นคง
ของมนุษย์ เพื่อการเพิ่มประสิทธิภาพการดูแลสุขภาพผู้สูงอายุและเด็ก พร้อมทั้งก าหนดเป้าหมายด้านการลด
กลุ่มเสี่ยงโรคเรื้อรัง มะเร็ง และลดการบาดเจ็บจากการจราจร พร้อมทั้งการส่งเสริมการเลิกบุหรี่ทั่วไทย
แผนเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติฉบับที่ ๑๒ มุ่งเน้นการสร้างเสริมให้คนมีสุขภาพดี โดยเน้นการ
ปรับเปลี่ยนพฤติกรรมทางสุขภาพและการลดปัจจัยเสี่ยงด้านสภาพแวดล้อมที่ส่งผลต่อสุขภาพ ให้ความส าคัญ
กับการพัฒนาความรู้ในการดูแลสุขภาพ การพัฒนารูปแบบการออกก าลังกายและโภชนาการที่เหมาะสมกับแต่
ละกลุ่มวัย การใช้มาตรการทางกฎหมายและภาษีในการควบคุมอาหารและผลิตภัณฑ์ที่ส่งผลเสียต่อสุขภาพ
การสร้างกลไกในการจัดท านโยบายสาธารณะที่ค านึงถึงผลกระทบต่อสุขภาพอันจะน าไปสู่การสร้าง
สภาพแวดล้อมที่เอื้อต่อการมีสุขภาพดี พร้อมทั้งการเสริมสร้างความเป็นธรรมและลดความเหลื่อมล้ า โดยการ
สร้างโอกาสให้กับประชากรที่มีรายได้ต่ าสุดให้สามารถเข้าถึงบริการสาธารณสุขที่มีคุณภาพ พร้อมทั้งการ
กระจายการจัดบริการด้านการสาธารณสุขที่เข้าถึงการบริการของประชาชนอย่างทั่วถึง โดยมีเป้าหมายหลัก
ส าคัญคือต้องการให้คนไทยมีคุณลักษณะของการเป็นคนไทยที่สมบูรณ์ มีสุขภาพกายและใจที่ดี ให้บรรลุ
เป้าหมายของการที่ประชากรอายุ ๑๕-๗๙ ปี มีภาวะน้ าหนักเกินลดลง การตายจากอุบัติเหตุทางถนนต่ ากว่า
๑๘ คนต่อประชากรแสนคน ประชาชนเล่นกีฬาและเข้าร่วมกิจกรรมนันทนาการเพิ่มขึ้น อัตราการฆ่าตัวตาย
ส าเร็จต่อประชากรแสนคนลดลง การคลอดในผู้หญิงกลุ่มอายุ ๑๕-๑๙ ปีลดลง รายจ่ายสุขภาพทั้งหมดไม่เกิน
ร้อยละ ๕ ของผลิตภัณฑ์มวลรวมในประเทศ และผู้สูงอายุที่อาศัยในบ้านที่มีสภาพแวดล้อมที่เหมาะสมเป็นร้อยละ ๒๐
๒. วัตถุประสงค์ของประเด็นยุทธศำสตร์
๑) เพื่อเตรียมความพร้อมระบบสุขภาพในระดับปฐมภูมิในการรับมือกับการเปลี่ยนแปลงสู่สังคม
ผู้สูงอายุ การเพิ่มขึ้นของวิกฤตสุขภาพและปัจจัยเสี่ยง
๒) เพื่อระดมภาคีเครือข่ายร่วมลดปัญหาสุขภาพด้านการเจ็บป่วยและโรคเรื้อรัง เพิ่มขีดความสามารถ
ของประชาชนให้มีความฉลาดรู้ทางสุขภาพในการจัดการสุขภาพตนเอง ครอบครัว และชุมชนได้
๓) เพื่อพัฒนาคุณภาพการจัดบริการของหน่วยบริการสุขภาพปฐมภูมิของโรงพยาบาลให้มีมาตรฐาน
และมีศักยภาพในการส่งเสริมป้องกันโรค รองรับการรักษาและฟื้นฟูอย่างมีคุณภาพ ประชาชนเชื่อมั่นและ
เข้าถึงได้
หน้า 42