Page 17 - การดูแลผู้ป่วยด้วยหัวใจบนพื้นฐานของความรู้
P. 17
17
ผมจึงได้เรียนปรึกษาแพทย์รุ่นพี่ (นพ.เกรียงศักดิ์ ภู่พัฒน์) ซึ่งท่านทํางานอยู่ที่รพ.เบตงมานานกว่า 10 ปีแล้ว เป็นที่
นับถือของคนไข้ทั้งเบตง เนื่องจากเป็นแพทย์ที่เก่ง ดูแลคนไข้เหมือนญาติ ท่านรีบพาผมมาคุยกับคนไข้และญาติอีกครั้ง ท่านดู
ฟิลม์แล้วบอกคนไข้ว่าต้องรีบผ่าตัดทันที ทั้งยังให้คํายืนยันด้วยว่าผมมาจากรพ.ที่กทม. เก่งมากเป็นหมอผ่าตัดมือหนึ่ง ทําเอา
ผมตัวลอยเชียวล่ะ คนไข้เริ่มมีท่าทีเชื่อว่าเป็นโรคนี้จริง แต่ยังคงไม่ค่อยเชื่อในตัวผมนัก พี่เกรียงศักดิ์บอกว่าจําเป็นต้องผ่าตัดถ้า
ทิ้งไว้จะอันตรายถึงชีวิตได้ คนไข้ถามว่าโอกาสตายมีไหม ผมยังคงจําได้ว่าพี่หมอบอกกับคนไข้ว่าการที่เรานั่งรถจากเบตงไป
ยะลาปลอดภัยไหม (เนื่องจากเส้นทางคดเคี้ยวต้องขึ้นเขาลงเขามาก อีกทั้งยังมีขบวนการโจรแบ่งแยกดินแดนคอยดักจี้ ปล้น
หรือยิงลงมาจากบนเขาระหว่างทางอยู่บ่อยๆ) มีใครกล้ารับประกันว่าปลอดภัย 100% หรือเปล่า แต่พวกเราก็เดินทางกัน
บ่อยๆ ไม่เห็นเป็นอะไร คนไข้จึงเริ่มเชื่อและพี่หมอยังบอกด้วยว่าจะเข้าไปช่วยผมผ่าตัดด้วย คราวนี้คนไข้และญาติยิ้มเลย
วันรุ่งขึ้นพี่หมอไปพูดกับคนไข้ว่าผมผ่าตัดได้ดีมากผ่าเร็วและเสียเลือดน้อย โชคดีของคนไข้ที่ได้ผมเป็นคนผ่าตัดให้
ผมไปเยี่ยมคนไข้วันละ 2-3 ครั้งจนออกจากรพ.ตั้งแต่วันนั้นเป็นต้นมา คนไข้เที่ยวไปคุยให้ทุกคนในตลาดฟ๎งถึงความเก่งของผม
ทําให้ผมไปทานก๋วยเตี๋ยวในตลาดไม่ต้องจ่ายเงินอีกเลย มีแต่คนออกเงินให้ และทุกคนไว้ใจให้ผมเป็นคนผ่าตัดรักษาในกรณีที่มี
ความจําเป็น บางครั้งผมแนะนําให้ไปผ่าตัดที่รพ.หาดใหญ่ คนไข้ก็ไม่ไปขอให้ผมผ่าตัดให้ที่ รพ.เบตง
ผมจึงคิดว่ารุ่นพี่มีส่วนสําคัญในการที่จะสร้างความมั่นใจในตัวเราในฐานะหมอใหม่ ไม่ว่าจะจบใหม่หรือมาอยู่ใหม่
ให้กับคนไข้และญาติ เช่นเดียวกับเจ้าหน้าที่ในรพ.ของเราก็สําคัญเช่นกัน การที่เขาจะแนะนําคนไข้ให้เราเป็นผู้รักษา เรา
จําเป็นต้องสร้างความสัมพันธ์ที่ดีกับผู้ร่วมงาน ให้เกียรติกับทุกๆ คนทํางานเป็นทีมเดียวกัน และสําคัญที่สุดก็คือรักษาคนไข้
ด้วยหัวใจบนพื้นฐานของความรู้ มีความปรารถนาดีต่อคนไข้อย่างจริงใจ ทุกคนจึงจะไว้วางใจเรา คนไข้จะมีความมั่นใจและ
วางใจในตัวเรา ไม่มีความคลางแคลงใจ และในกรณีที่ผลการรักษาไม่เป็นไปดังที่หวัง เหมือนกับที่ผมได้เขียนในบทความครั้ง
ก่อนว่า คนไข้จะยังคงเชื่อถือ และวางใจในตัวเราแม้จะเกิดภาวะแทรกซ้อนรุนแรงที่คาดไม่ถึง ขอเพียงแต่เราต้องไม่ปิดบัง
ปัญหาที่เกิดขึ้นและไม่หนีหน้า ปล่อยให้ทีมแพทย์ท่านอื่นรักษาแทน ต้องมีความจริงใจในการแก้ปัญหา และหมั่นดูแล
อย่างใกล้ชิดคอยอธิบายอาการที่เปลี่ยนแปลง
เพียงเท่านี้เราก็ยังคงความสัมพันธ์ที่ดีกับคนไข้และญาติ และไม่ว่าจะเกิดอะไรขึ้นเขาเหล่านี้จะยังคงมาให้เรารักษา
ตลอดไป
ผมจึงขอให้รุ่นพี่ๆ ไม่ว่าจะเป็นวิชาชีพใดต้องทําหน้าที่เป็นครูพี่เลี้ยงให้รุ่นน้อง จนกว่าจะมั่นใจว่าน้องสามารถทํางาน
ได้ด้วยตนเอง โดยเฉพาะที่เกี่ยวข้องกับทางการแพทย์เนื่องจากถ้าเกิดความผิดพลาด อาจเป็นผลให้คนไข้เกิดความพิการหรือ
เสียชีวิตได้เหมือนที่โฮงบาลน่าน อ.นพ.บุญยงค์ วงค์รักมิตร ได้สร้างวัฒนธรรมในการทํางานที่ยังคงปฏิบัติสืบเนื่องกันมานาน
กว่า 50 ปีที่ว่า "สอนให้จ า ท าให้ดู อยู่ให้เห็น" ผมเชื่อในคําสามคํานี้ว่าจะสร้างความมั่นใจให้น้องใหม่ตลอดจนคนไข้และญาติ
ในการปฏิบัติหน้าที่ได้อย่างเต็มความสามารถ ด้วยความระมัดระวัง และด้วยความปรารถนาดีต่อคนไข้และญาติ คําว่า "อยู่ให้
เห็น" นั้นสําคัญอย่างยิ่งโดย เฉพาะในยามวิกฤตินั้นบางครั้งต้องการรุ่นพี่ที่มีประสบการณ์ช่วยออกความคิดเห็นหรือร่วมรักษา
คนไข้ จึงต้องสามารถตามตัวรุ่นพี่ได้ทุกเวลา
ผมมักพูดอยู่บ่อยๆ ว่า "รุ่นพี่มีหน้าที่เตือนเมื่อรุ่นน้องท าในสิ่งที่ผิดหรือสิ่งที่ไม่ควรท า และที่ส าคัญที่สุดรุ่นพี่จะต้อง
มีหน้าที่ในการเป็นตัวอย่างท าในสิ่งที่ถูกที่ควรด้วย"
ผมขอกราบขอบพระคุณอาจารย์ แพทย์รุ่นพี่หรือแม้แต่แพทย์รุ่นน้องบางคนที่ได้เป็นตัวอย่างในการทําสิ่งดีๆ ให้เห็น
เป็นต้นแบบในการเป็นแพทย์ของผมจวบจนทุกวันนี้ และผมจะถือเป็นแบบอย่างในการประพฤติตนเป็นตัวอย่างที่ดีให้รุ่นน้องๆ
สืบต่อไป
“ขอบคุณที่เป็นคนดี”