Page 12 - การดูแลผู้ป่วยด้วยหัวใจบนพื้นฐานของความรู้
P. 12
12
ครั้งหนึ่งที่ผมมีโอกาสได้พาแม่ชีศันสนีย์ไปเยี่ยมคนไข้ตามหอผู้ปุวย ระหว่างทางพบคุณยายอายุราว 70 กว่าปีนอนอยู่
บนเปลหน้าห้องฟอกไต ใบหน้าบ่งบอกถึงความทุกข์ความกังวลไม่มีความสุข มีลูก 2 คนชายหญิงยืนอยู่ข้างๆอายุน่าจะ 50
ปีเศษแล้ว แม่ชีเข้าไปจับมือแล้วถามไถ่อาการต่างๆ และถามถึงความเจ็บปุวยว่าเป็นอย่างไรกังวลเรื่องใด
ปรากฏว่าคุณยายไม่มีความสุขเพราะรู้สึกว่าตัวเองเป็นภาระให้ลูกๆ ต้องพามาฟอกเลือดสัปดาห์ละ 2 ครั้ง เสียทั้งเวลา
และเงินทอง แม่ชีจึงถามลูก ๆทั้ง 2 คนว่ารู้สึกเป็นภาระหรือไม่ ลูกๆ ตอบพร้อมรอยยิ้มว่าไม่รู้สึกเช่นนั้น และรู้สึกว่ายินดีที่จะ
พาแม่มารักษาตามหมอนัดทุกครั้ง
แม่ชีจึงจับแขนคุณยายและพูดว่าเห็นไหม คุณยายกําลังทําบุญที่ยิ่งใหญ่ ให้ลูกหลานได้แสดงความกตัญํูรู้คุณ
ปรนนิบัติแม่ยามเจ็บปุวย คุณยายควรมีความสุขที่ได้ให้ลูกหลานมีโอกาสได้ทําบุญกุศลอันยิ่งใหญ่ ไม่น่าเชื่อว่าจากคําพูดนี้จะทํา
ให้ใบหน้าคุณยายคลายความกังวลลงและมีรอยยิ้มให้ลูกทั้งสอง เป็นภาพประทับใจที่ยังคงอยู่ในความทรงจําของผมอยู่เสมอ
ผมมักจะเล่าประสบการณ์ดีๆ เช่นนี้ให้เจ้าหน้าที่ฟ๎งเช่นเมื่อตามแม่ชีศันสนีย์ไปเยี่ยมคนไข้ ผมจะเห็นภาษากายที่ท่าน
แสดงออกต่อคนไข้ ด้วยสายตาที่เปี่ยมไปด้วยความเมตตาความปรารถนาดี และการสัมผัสที่อ่อนโยนแม้ในคนไข้ที่ไม่รู้สึกตัว
หรือคําพูดที่กล่าวให้กําลังใจญาติผู้ดูแลพร้อมแววตาที่แสดงถึงความเห็นใจที่แสดงออกด้วยความจริงใจ เป็นการกระทําด้วย
หัวใจที่ปราศจากการเสแสร้ง ทําให้ญาติๆร ู้สึกได้ถึงความอบอุ่น และมีกําลังใจที่จะต่อสู้ดูแลคนไข้ด้วยความปรารถนาดี
ดังนั้น ทุกครั้งที่เราปฏิบัติต่อคนไข้ต้องท าเสมือนว่าเป็นญาติพี่น้องของเราอยู่เสมอ ท าจนเป็นนิสัยเป็นวัฒนธรรมที่
ดีงามซึ่งจะส่งต่อจากรุ่นสู่รุ่น ให้เป็นที่เลื่องลือว่ารพ.น่าน ประเทศไทยนั้นดูแลคนไข้ด้วยใจไม่ว่าจะยากดีมีจนหรือเชื้อชาติ
สัญชาติใดๆ
ผมต้องขอขอบคุณเจ้าหน้าที่รพ.ทุกๆ ระดับทั้งในอดีต และป๎จจุบันที่ยังคงรักษาสิ่งที่ดีงามนี้ให้สืบเนื่องต่อกันตลอด
กาลนาน
“ขอบคุณที่เป็นคนดี”