Page 9 - การดูแลผู้ป่วยด้วยหัวใจบนพื้นฐานของความรู้
P. 9

9


























              “patient safety” คํานี้ใช้กันอย่างแพร่หลายโดยเฉพาะในวงการพัฒนาคุณภาพ รพ. สถานบริการทุกแห่งพยายาม
         สร้างกระบวนการต่างๆ เพื่อให้เกิดภาวะนี้ แต่ส่วนใหญ่มักหลงประเด็นกลายเป็นกระบวนการที่จะปูองกันตัวเองไม่ให้ถูก

         ฟูองร้อง ทําให้เกิดการส่งตรวจพิเศษที่เกินความจําเป็น (Over investigation) เป็นการสิ้นเปลืองทั้งยังทําให้การรักษาล่าช้า
         ยกตัวอย่างเช่น การวินิจฉัยไส้ติ่งอักเสบ เดิมอาศัยประวัติการตรวจร่างกายเป็นหลัก ร่วมกับการส่งตรวจ CBC ดูจํานวนเม็ด
         เลือดขาว เพื่อช่วยยืนยันการวินิจฉัย ในกรณีที่การวินิจฉัยไม่ชัดเจน จะให้งดอาหารและน้ํา (NPO) ไว้ก่อนพร้อมสังเกตอาการ

         เปลี่ยนแปลงโดยติดตามสัญญาณชีพ และการตรวจร่างกายซ้ําเป็นระยะๆ ว่ามีการเปลี่ยนแปลงหรือไม่อย่างไร
              ผู้ปุวยบางรายที่อาการดีขึ้นไม่ได้รับการผ่าตัดให้กลับบ้านได้ และให้การวินิจฉัยเป็นปวดท้อง จากความผิดปกติในระบบ
         ทางเดินอาหาร จึงทําให้เกิดความปลอดภัยต่อผู้ปุวย แต่ในป๎จจุบันการวินิจฉัยจําเป็นต้องมีการตรวจยืนยัน โดยใช้อัลตร้าซาวด์

         หรือการตรวจ CT scan ก่อนทําผ่าตัดด้วย ทําให้สิ้นเปลืองค่าใช้จ่าย และบางครั้งต้องเสียเวลารอตรวจพิเศษทําให้ได้รับการ
         รักษาล่าช้าไปอีก บางรายจําเป็นต้องฉีดสารทึบแสงมีโอกาสเกิดภาวะแทรกซ้อนจากการแพ้สารทึบแสงได้
              วันก่อนมีคนไข้ประสบอุบัติเหตุจากรถยนต์ (Car accident) ส่งต่อมาจาก รพช. (โรงพยาบาลชุมชน) เป็นผู้ปุวยชายไทย

         อายุ 47 ปี ได้รับการบาดเจ็บที่ศีรษะ และขาข้างขวาหัก คนไข้ไม่รู้สึกตัวตั้งแต่แรกได้รับการใส่ท่อช่วยหายใจ และสารน้ําที่
         รพช. (โรงพยาบาลชุมชน) มาถึง ER รพท. (โรงพยาบาลทั่วไป) แพทย์เวรตรวจร่างกายพบว่าไม่ตอบสนองต่ออาการเจ็บปวด
         (Deep pain) มีภาวะช็อค (Shock) ม่านตาขยายใหญ่ไม่ตอบสนองต่อแสง ทําการตรวจแผลที่ศีรษะ ซึ่งมีผ้าพันแผลพันไว้อย่าง

         แน่นหนา พบว่ามีกะโหลกศีรษะแตกแยก ออกจากบริเวณตรงกลางศีรษะพอดี และมีเนื้อสมองไหลทะลักออกมาเป็นจํานวน
         มาก
              ผมอยู่ด้วยในขณะนั้น เนื่องจากคู่กรณีเป็นรถส่วนหน้าที่มาเตรียมการรับเสด็จสมเด็จพระเทพฯ และมีเจ้าหน้าที่สํานัก

         พระราชวังบาดเจ็บสี่คน ผมจึงได้ให้ความเห็นว่าไม่ต้องทําอะไรเพิ่มเติม ควรให้การรักษาแบบประคับประคองจนกว่าจะ
         เสียชีวิต และพูดคุยให้ญาติเข้าใจ
              หลังจากเสร็จจากการตรวจ เจ้าหน้าที่ส่วนหน้าซึ่งบาดเจ็บเล็กน้อย สังเกตเห็นคนไข้คนนี้ไม่อยู่ที่ ER เนื่องจากแพทย์ให้
         ตรวจ CT (Computer scan) ทําให้เกิดความสงสัยมาก เพราะคนไข้ไม่มีความหวังที่จะรักษาแล้ว ทําไมจึงนําไปตรวจพิเศษอีก

         เป็นการเพิ่มภาระงานอีกมากมาย โดยทั่วไปคนไข้ที่ไม่มีโอกาสรอดแล้ว ไม่ควรทําอะไรที่เป็นการรบกวนร่างกายเขาอีก เช่น
   4   5   6   7   8   9   10   11   12   13   14