Page 83 - แผนยุทธศาสตร์การพัฒนาโรงพยาบาลตราด พ.ศ.2561-2565
P. 83
แผนยุทธศาสตร์การพัฒนาโรงพยาบาลตราด (พ.ศ. ๒๕๖๑ – ๒๕๖๕)
สนับสนุนงบประมาณและการสนับสนุนทรัพยากรแก่โรงพยาบาล พัฒนาระบบการรับบริจาคให้มีความ
คล่องตัวและสะดวกต่อผู้มีจิตศรัทธาทั้งในระบบปกติและระบบออนไลน์
(๕) เพิ่มประสิทธิภาพหน่วยสนับสนุนของโรงพยาบาลให้มีความเป็นมืออาชีพในการปฏิบัติงาน
เน้นการน าระบบเทคโนโลยีสารสนเทศมาใช้ในการท างานเพื่อลดขั้นตอนและลดต้นทุน มุ่งพัฒนาโรงพยาบาล
ให้เป็นส านักงานที่ทันสมัย (e-Office)
๔) พัฒนาระบบโครงสร้างพื้นฐานเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสารของโรงพยาบาลให้มี
ความทันสมัย เชื่อมโยงอย่างมีประสิทธิภาพ และสื่อสารสุขภาพสู่ประชาชนอย่างเข้าถึง
มาตรการและแนวทางปฏิบัติ
(๑) วิเคราะห์และจัดท าแผนเทคโนโลยีสารสนเทศโรงพยาบาลตราด รองรับความต้องการและ
ความจ าเป็นในอนาคตเพื่อพัฒนาสู่โรงพยาบาลดิจิทัลตามเกณฑ์ EMRAM Stage ๗
(๒) จัดหาอุปกรณ์ เทคโนโลยีสารสนเทศ คอมพิวเตอร์ ให้มีความเพียงพออย่างสมบูรณ์ในทุก
หน่วยงานของโรงพยาบาลและเครือข่ายปฐมภูมิ
(๓) เปลี่ยนระบบบริการทางโทรศัพท์จากระบบ Analog เป็น IP Telephone เพื่อลดต้นทุน
ค่าใช้จ่าย เพิ่มขีดความสามารถของระบบโทรศัพท์ เช่น การจัดตั้ง Call Center/การ Forward โทรศัพท์ เป็นต้น
(๔) ปรับปรุง Website ของโรงพยาบาลเป็น Website ที่มีภาษานานาชาติ เพื่อพร้อมรับการ
เปิดประชาคมอาเซียน ปรับปรุงเนื้อหาเพื่อการสื่อสารความรู้ทางสุขภาพให้กับประชาชน โดยเน้นความ
ครอบคลุมของทุกกลุ่มวัยและทุกโรคที่ส าคัญของพื้นที่บริการ พร้อมพัฒนาเว็ปไซต์ให้เป็นห้องบริการสุขภาพ
แบบออนไลน์
(๕) จัดบริการฟรี Wi-Fi ที่มีความรวดเร็ว ปลอดภัย และสะดวก เพื่อการรองรับผู้รับบริการใน
โรงพยาบาล มีจุดบริการอินเตอร์เน็ตฟรี
๕) พัฒนาระบบบริการทางการแพทย์ที่สะดวกรวดเร็วและทันสมัยด้วยเทคโนโลยีและ
สารสนเทศที่มีประสิทธิภาพสูงมุ่งยกระดับโรงพยาบาลสู่ Digital Hospital ทั่วทั้งองค์กร
มาตรการและแนวทางปฏิบัติ
(๑) พัฒนาระบบดูแลผู้ป่วยผ่านระบบออนไลน์ในทุกเครือข่ายบริการเพื่อรองรับการดูแลและ
ให้ค าปรึกษาผู้ป่วยอย่างต่อเนื่องในกลุ่มผู้ป่วยอุบัติเหตุและฉุกเฉิน กลุ่มผู้ป่วยโรคเรื้อรัง กลุ่มผู้สูงอายุ
(๒) จัดระบบบริการสุขภาพแบบองค์รวมผ่านอินเตอร์เน็ต โดยเน้นให้ครอบคลุมผู้ป่วยทุกกลุ่ม
โรค กลุ่มผู้ป่วยโรคเรื้อรังที่มีภาวะพึ่งพิง การดูแลคนพิการ และผู้ด้อยโอกาส การดูแลผู้ป่วยมะเร็ง การดูแล
ผู้ป่วยระยะสุดท้าย
(๓) พัฒนาโปรแกรมการดูแลผู้ป่วยระยะประคับประคองและระยะยาว (LTC) โปรแกรมการส่ง
ต่อผู้ป่วย (Thai Refer) โปรแกรมเยี่ยมบ้าน (Thai COC.) เป็น Application บนสมาร์ทโฟนและแท็ปเล็ตเพื่อ
สะดวกต่อการเข้าถึงและให้บริการ
(๔) พัฒนาโปรแกรมการประเมินความพึงพอใจในการบริการด้วยระบบดิจิตอล ทั้งใน
โรงพยาบาลในทุกจุดบริการ และการประเมินความพึงพอใจผ่านระบบอินเตอร์เน็ต พร้อมการพัฒนาระบบการ
ให้บริการตามล าดับคิวเดียวกันทุกหน่วยบริการ โดยใช้ระบบบาร์โค๊ด
(๕) ให้ความรู้ที่จ าเป็นด้านเทคโนโลยีสารสนเทศแก่ผู้ใช้บริการ เพื่อประโยชน์สูงสุดในการ
จัดบริการแบบออนไลน์ ทั้งก่อน ระหว่าง และหลังจ าหน่าย
(๖) จัดท าระบบ OPD Card Online (EMR) เพื่อสะดวกต่อการเข้าถึงของผู้ให้บริการ ลดระยะเวลา
รอคอย (Paperless)
หน้า 71