Page 79 - แผนยุทธศาสตร์การพัฒนาโรงพยาบาลตราด พ.ศ.2561-2565
P. 79

แผนยุทธศาสตร์การพัฒนาโรงพยาบาลตราด (พ.ศ. ๒๕๖๑ – ๒๕๖๕)


                                                   ประเด็นยุทธศำสตร์ที่ 4
                                                   Smart Management

                         : พัฒนาระบบการบริหารจัดการตามหลักธรรมาภิบาล โครงสร้างพื้นฐานมีมาตรฐาน
                                           เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม มุ่งสู่องค์กรดิจิทัล


               ๑. แนวคิดและหลักการ

                         ยุทธศาสตร์การพัฒนาประเทศตามแผนยุทธศาสตร์ชาติ ๒๐ ปี มุ่งเสริมสร้างโอกาสทางเศรษฐกิจ
               ของประเทศด้วยการพัฒนาให้ประเทศไทยเป็นองค์กรดิจิทัลด้านสุขภาพ และทิศทางการพัฒนายุทธศาสตร์ของ
               แผนเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติฉบับที่ ๑๒ ได้มุ่งเน้นการพัฒนาเทคโนโลยีและนวัตกรรมทางการแพทย์เพื่อ
               รองรับการเป็นสังคมผู้สูงอายุทั้งในด้านผลิตภัณฑ์สุขภาพและที่อยู่อาศัยส าหรับผู้สูงอายุ ยกระดับการบริหาร
               จัดการระบบสุขภาพเพื่อลดความเหลื่อมล้ าและสร้างความยั่งยืนในระยะยาว การพัฒนาระบบข้อมูลสารสนเทศ

               เพื่อการบริหารทรัพยากรด้านสาธารณสุข ในส่วนของแผนดิจิทัลและยุทธศาสตร์ชาติระยะ ๒๐ ปีด้าน
               สาธารณสุขมุ่งเน้นความเป็นเลิศด้านการบริการจัดการและธรรมาภิบาล โดยมุ่งพัฒนาระบบสารสนเทศด้าน
               สุขภาพ ระบบหลักประกันสุขภาพ และระบบธรรมาภิบาล

                        การบริหารจัดการเป็นการก าหนดทิศทางของหน่วยงาน กลุ่มงาน หรือการด าเนินงานในหน้าที่ต่างๆ
               ให้ใช้ทรัพยากรทั้งหลายที่มีอยู่ในองค์การอย่างมีประสิทธิภาพและประสิทธิผล การใช้ทรัพยากรอย่างมี
               ประสิทธิภาพ (Efficient)  ครอบคลุมถึงการใช้ทรัพยากรได้อย่างเฉลียวฉลาด เหมาะสมและคุ้มค่า (Cost-
               effective)  ส่วนการใช้ทรัพยากรอย่างมีประสิทธิผล (Effective)  นั้นหมายถึงการตัดสินใจได้อย่างถูกต้อง

               (Right decision) และมีการปฏิบัติการส าเร็จตามแผนที่ก าหนดไว้ กระบวนการบริหารจัดการเป็นกลไกและตัว
               ประสานที่ส าคัญที่สุดในการผลักดันและก ากับให้ปัจจัยต่างๆ ที่เป็นทรัพยากรการจัดการประเภทต่างๆ สามารถ
               ด าเนินไปได้โดยมีประสิทธิภาพ จนบรรลุเป้าหมายตามที่ต้องการ การเข้าใจถึงกระบวนการบริหารจัดการและ
               การฝึกฝนให้มีทักษะสูงขึ้นจะช่วยให้การบริหารงานมีประสิทธิภาพมากขึ้นได้

                         แนวโน้มการพัฒนาของโรงพยาบาลและระบบการดูแลสุขภาพให้ความส าคัญกับการพัฒนา
               โรงพยาบาลและระบบบริการสุภาพที่สามารถใช้ประโยชน์จากเทคโนโลยีสารสนเทศให้เกิดประโยชน์อย่าง
               สูงสุด เทคโนโลยีเข้ามามีบทบาทในการพลิกโฉมวงการแพทย์ ช่วยให้ผู้เชี่ยวชาญสามารถวินิจฉัย ผ่าตัด สั่งยา
               จ่ายยา และจัดยาได้อย่างถูกต้องแม่นย า ทั้งยังสามารถลดต้นทุนในการตรวจรักษาได้อย่างมีประสิทธิภาพ การ

               พัฒนาโรงพยาบาลตราดสู่โรงพยาบาลดิจิทัลจึงจะเป็นประโยชน์อย่างยิ่งต่อการยกระดับคุณภาพของการ
               จัดบริการและการเตรียมพร้อมในการเชื่อมโยงบริการในจังหวัด เขตสุขภาพ และนานาชาติ ที่ส าคัญคือ
               ความสามารถในการน าเทคโนโลยีสารสนเทศที่ทันสมัยมาใช้เพื่อยกระดับการดูแลรักษาให้มีความสมบูรณ์ มี

               ประสิทธิภาพและเหมาะสมต่อผู้ป่วยแต่ละคนมากขึ้น
                        องค์กรนวัตกรรม ความจ าเป็นในการพัฒนานวัตกรรมของโรงพยาบาลเป็นความจ าเป็นในการสนอง
               ต่อทิศทางการพัฒนาประเทศตามโมเดลเศรษฐกิจไทยแลนด์ ๔.๐ และกระทรวงสาธารณสุข ๔.๐ ที่มุ่งสร้าง
               คุณค่าของระบบสุขภาพ Value Based Health Care ในด้านของ Inclusive Growth Engine ที่มุ่งเสริมสร้าง
               ระบบ Digital  Health  และ Productivity  Growth  ที่เน้นการน า Health  Technology  และ Medical

               Technology และเครื่อง Robotic มาใช้ในการจัดบริการแพทย์แก่ผู้ใช้บริการ พร้อมทั้งให้ความส าคัญกับการ
               พัฒนาระบบ Biotechnology และ Biomedical เพื่อการหนุนเสริมการเติบโตอย่างต่อเนื่องของการจัดบริการ
               ทางการแพทย์ของประเทศ






                                                                                                    หน้า 67
   74   75   76   77   78   79   80   81   82   83   84