Page 34 - แผนยุทธศาสตร์การพัฒนาโรงพยาบาลตราด พ.ศ.2561-2565
P. 34
แผนยุทธศาสตร์การพัฒนาโรงพยาบาลตราด (พ.ศ. ๒๕๖๑ – ๒๕๖๕)
โดยมีรายละเอียดแนวทางของจุดยืน และต าแหน่งการพัฒนา ดังนี้
1) กำรเพิ่มประสิทธิภำพกำรบริหำรและจัดกำรเครือข่ำยสุขภำพปฐมภูมิของโรงพยำบำลให้
เข้มแข็ง มีคุณภำพที่เชื่อมั่น และวำงใจได้จำกประชำชนชุมชน (Primary Care Quality and Self-Care)
(๑) พัฒนาคุณภาพชีวิตคนตราดทุกกลุ่มวัยในพื้นที่บริการของโรงพยาบาลผ่านระบบการดูแล
สุขภาพปฐมภูมิ โดยมุ่งเน้นเสริมสร้างการเปลี่ยนแปลงคุณภาพชีวิตที่มีคุณภาพดีในทุกวัย ให้เกิดพัฒนาการ
อย่างต่อเนื่องในด้านสุขภาพ การป้องกันควบคุมโรคและภัยสุขภาพ เพื่อลดความเจ็บป่วยโรคไม่ติดต่อเรื้อรังใน
ระดับหมู่บ้าน ให้ความส าคัญกับการบริหารจัดการความปลอดภัยด้านอาหาร ลดปัจจัยเสี่ยงต่อโรคไม่ติดต่อ
เรื้อรังโดยมุ่งเน้นการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมการบริโภคอาหารและการบริหารจัดการสิ่งแวดล้อมในระดับ
หมู่บ้าน/ครัวเรือน ให้อยู่ท่ามกลางสิ่งแวดล้อมที่ดี
(๒) พัฒนาระบบการแพทย์ปฐมภูมิ โดยให้ทุก รพ.สต. จัดบริการทางการแพทย์ด้านโรค
ไม่ติดต่อเรื้อรัง และยกระดับ รพ.สต. ให้เป็นด่านหน้า (Front Line) พร้อมพัฒนาการท างานของเครือข่ายให้มี
การเชื่อมโยงและบูรณาการไปในแนวทางเดียวกันตั้งแต่ระดับนโยบายไปสู่การปฏิบัติ ภายใต้แผนแม่บทเพื่อ
การบริการของหน่วยบริการปฐมภูมิโรงพยาบาลตราดที่เป็นแผนแม่บทเดียวกัน มีการบูรณาการและพัฒนา
บุคลากรร่วมกัน พัฒนาศักยภาพและเสริมสร้างความรู้ความเข้าใจของบุคลากรในองค์กร เพื่อมุ่งยกระดับ
บริการปฐมภูมิของโรงพยาบาลรองรับสังคมผู้สูงอายุ การท่องเที่ยวนานาชาติ และเขตเศรษฐกิจพิเศษ
(๓) เสริมสร้างความร่วมมือเครือข่ายนอกระบบสาธารณสุขเพื่อการมีส่วนร่วมในการบริการและ
พัฒนา รพ.สต. มุ่งเน้นพัฒนาให้ รพ.สต. เป็นองค์กรของชุมชน ให้ชุมชนเข้ามามีส่วนร่วม สร้าง Model การ
จัดการ รพ.สต เพื่อการพัฒนาระบบเครือข่ายให้ครอบคลุมทุกองค์กร ในการร่วมผลักดันการพัฒนาและจัดการ
สุขภาพเชิงพื้นที่มุ่งลดปัญหาสุขภาพโรคไม่ติดต่อเรื้อรัง
(๔) พัฒนา รพ.สต. ที่มีศักยภาพให้เป็นโรงพยาบาลตราดส่วนหน้า เพื่อเสริมสร้างความเชื่อมั่น
ใน รพ.สต. ลดความแออัดในโรงพยาบาลตราด พัฒนาระบบส่งต่อผู้ป่วยให้ไร้รอยต่อปลอดภัยจาก รพ.สต. ไป
ยังโรงพยาบาล โดยมุ่งสร้างระบบส่งต่อข้อมูลสารสนเทศทางการแพทย์ พร้อมการเสริมสร้างขีดความสามารถ
ในการพัฒนาให้เป็นโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพยุดดิจิทัล น าระบบการดูแลสุขภาพผ่านระบบดิจิทัลมาบริการ
สุขภาพในระดับบุคคล ครอบครัว และชุมชน เพื่อการดูแลสุขภาพตนเองได้สะดวก รวดเร็ว ครอบคลุม และลด
ค่าใช้จ่าย
2) กำรเสริมสร้ำงขีดควำมสำมำรถเพื่อควำมเป นเลิศทำงกำรแพทย์ (Medical Excellent)
ด้ำนอุบัติเหตุฉุกเฉิน
(๑) พัฒนาระบบบริการดูแลผู้ป่วย Trauma & Non Trauma (Service Plan Trauma &
Emergency) ที่มีมาตรฐานตามแผนพัฒนาบริการของเขตสุขภาพ ให้ความส าคัญกับการยกระดับการบริการ
การแพทย์ฉุกเฉินของโรงพยาบาลและเครือข่ายทั้งในและนอกระบบสาธารณสุขที่มีมาตรฐาน ปลอดภัย พร้อม
ทั้งพัฒนาบุคลากรให้มีความรู้ความสามารถ (Pre-Hospital Standard)
(๒) พัฒนาระบบบริการการแพทย์ฉุกเฉินในโรงพยาบาล (In-Hospital) โดยเน้นการพัฒนา
บุคลากรทางการแพทย์เฉพาะทาง มุ่งเพิ่มแพทย์เฉพาะทางด้านอุบัติเหตุและฉุกเฉิน แพทย์ศัลยกรรมประสาท
พยาบาลเฉพาะทางด้านอุบัติเหตุฉุกเฉินเพื่อรองรับการเติบโตสู่เมืองพื้นที่เศรษฐกิจพิเศษ การค้าชายแดน โดย
เน้นความร่วมมือระหว่างหน่วยงานภาครัฐและเอกชน
(๓) พัฒนาระบบการส่งต่อผู้ป่วยฉุกเฉินระหว่างประเทศและการดูแลคนไทยในต่างประเทศเพื่อ
รองรับนักท่องเที่ยวจากนานาชาติ และการบริการผู้ป่วยจากประเทศในกลุ่มอาเซียน ทั้งในด้านการบริการใน
หน้า 31