Page 5 - การดูแลผู้ป่วยด้วยหัวใจบนพื้นฐานของความรู้
P. 5

5

                                                          ค าน า


                ป๎จจุบันทุนนิยม วัตถุนิยมเข้ามามีบทบาทอย่างมากในชีวิตประจําวัน ทุกคนจึงตั้งหน้าตั้งตาทํางานเพื่อแลกกับ
         ค่าตอบแทนเพื่อใช้สนองความต้องการทางวัตถุ ในวงการแพทย์ก็ได้รับผลกระทบเช่นกัน แพทย์และบุคลากรทางการแพทย์
         นิยมเลือกที่จะไปทํางานในรพ.ที่ให้ค่าตอบแทนสูง งานที่ไม่หนักมากและชอบที่จะทํางานในคลินิกด้านความงามเป็นพิเศษ

         ผิดกับสมัยก่อนที่นิยมทํางานในรพ.ที่งานหนักหรือแผนกที่มีคนไข้มาก เพื่อจะได้ช่วยเหลือคนไข้ให้สมกับความตั้งใจที่เลือกเรียน
         แพทย์ การเรียนต่อหลังปริญญาเพื่อเป็นแพทย์ผู้เชี่ยวชาญก็นิยมเลือกเรียนในสาขาหลัก โดยเฉพาะอายุรกรรม ศัลยกรรม
         ส่วนใหญ่คนที่เรียนเก่งได้เกียรตินิยมจะแย่งกันเรียนเนื่องจากมีคนไข้มาก เพื่อจะได้ดูแลรักษาคนไข้อย่างเต็มที่
                 อย่างไรก็ตามแพทย์และเจ้าหน้าที่รุ่นใหม่มักขาดโอกาสที่จะได้เห็นตัวอย่างที่ดีงามของอาจารย์ และรุ่นพี่ดังเช่นในอดีต

         ป๎จจุบันเกือบทุกแห่งขาดรุ่นพี่ๆ ที่จะคอยชี้แนะเวลาทําสิ่งที่ไม่ถูกต้องเป็นลักษณะการทํางานแบบตัวใครตัวมัน เนื่องจากมี
         ผลประโยชน์ทับซ้อน เมื่อเกิดความผิดพลาดมักช่วยกันปกปิดจนเกิดความเสียหายที่รุนแรง อีกทั้งการสื่อสารกับเพื่อนร่วมงาน

         กับคนไข้และญาติก็ไม่ดี เป็นเหตุให้เกิดความขัดแย้งได้ง่าย ทําให้แพทย์รุ่นใหม่ไม่นิยมที่เรียนต่อในสาขาหลักซึ่งงานหนัก และมี
         โอกาสเกิดความขัดแย้งมาก แต่นิยมที่จะเลือกเรียนสาขาที่มีความเสี่ยงกับความผิดพลาดน้อยหรือไม่ต้องเจอกับญาติคนไข้
                 ผมผ่านการทํางานเป็นแพทย์มานานกว่า 30 ปี อีกทั้งเคยทําหน้าที่ในทีมบริหารความเสี่ยงของรพ. เป็นอนุกรรมการ
         มาตรา 41 ระดับจังหวัดซึ่งมีหน้าที่พิจารณาให้ความช่วยเหลือเยียวยาผู้ได้รับความเสียหายจากการบริการทางการแพทย์

         สําหรับผู้ใช้สิทธิบัตรทอง เป็นอนุกรรมการจริยธรรมของราชวิทยาลัยสูตินรีแพทย์ฯ และเป็นผู้อํานวยการรพ.น่าน จึงมี
         ประสบการณ์พบเห็นความผิดพลาดที่เกิดขึ้นขณะดูแลรักษาคนไข้มากมาย จึงต้องการที่จะเผยแพร่ประสบการณ์ต่างๆ ให้กับ

         บุคลากรทางการแพทย์เพื่อจะได้เรียนรู้ร่วมกัน และป้องกันไม่ให้เกิดความผิดพลาดซ้ า ช่วยสร้างเสริมก าลังใจ ภูมิคุ้มกัน
         ให้ทีมงาน ทั้งยังต้องการให้เกิดความเข้าใจ เห็นอกเห็นใจคนไข้และญาติเมื่อเกิดความเสียหายจากการรักษาคนไข้
         ต้องการให้กําลังใจคนรุ่นใหม่ที่อยากเป็นแพทย์หรือวิชาชีพอื่นๆ ทางการแพทย์ อย่าได้หวาดกลัว หวาดระแวงว่าจะถูกคนไข้
         ฟูองกรณีเกิดความผิดพลาดหรือภาวะแทรกซ้อนจากการดูแลรักษา ขอเพียงแต่ทําหน้าที่ของเราอย่างเต็มความรู้ความสามารถ

         ด้วยความระมัดระวัง และด้วยความปรารถนาดีต่อคนไข้และญาติ
                  ทุกตอนผมเขียนขึ้นจากประสบการณ์ที่เกิดขึ้นกับตนเอง และจากการทําหน้าที่ดังกล่าว ผมเชื่อว่ายังคงมีความผิดพลาด
         ที่เกิดขึ้นอีกมากมายทุกวันในทุกรพ.ทั้งภาครัฐและเอกชน ผมเชื่อว่าการดูแลคนไข้ด้วยหัวใจจะทําให้เกิดความผิดพลาดน้อยลง

         เพราะมีความผูกพันเหมือนญาติ การสื่อสารที่ดี ความเห็นอกเห็นใจความเข้าใจกันจะทําให้เกิดความสัมพันธ์ที่ดีต่อกัน การดูแล
         รักษาต้องยึดเอาคนไข้เป็นศูนย์กลาง เมื่อเกิดป๎ญหาที่ไม่คาดคิดจะได้ให้ความช่วยเหลืออย่างทันท่วงทีและเต็มความสามารถ
         โดยไม่ต้องห่วงเรื่องการฟูองร้องใดๆ ผมอยากเห็นความสัมพันธ์ที่ดีงามระหว่างคนไข้ ญาติและทีมแพทย์ผู้รักษาเหมือนเมื่อใน

         อดีตที่มีความปรารถนาดีต่อกัน
              ผมหวังเป็นอย่างยิ่งว่า บทความเหล่านี้จะมีประโยชน์ต่อผู้อ่านทุกคน ไม่ว่าจะเป็นบุคลากรทางการแพทย์ และ
         สาธารณสุขหรือประชาชนทั่วไป

              ผมขอกราบขอบพระคุณ คุณพ่อคุณแม่ผู้ให้กําเนิดและสนับสนุนให้ผมเรียนแพทย์ ขอบพระคุณครูบาอาจารย์ทุกท่าน
         ที่ช่วยอบรมสั่งสอนให้ผมได้เป็นแพทย์ที่ดี ขอบคุณรุ่นพี่ เพื่อนและน้องแพทย์ ตลอดจนบุคลากรร่วมทีมทางการแพทย์ และ
         สาธารณสุขที่ปฏิบัติตนเป็นแบบอย่างที่ดีในการดูแลคนไข้ ขอบคุณหมอพัชรี ที่อยู่เคียงข้างมาตลอด

              กราบขอบพระคุณพระอาจารย์ท่าน ว. วชิรเมธี และอาจารย์นพ.บุญยงค์ วงค์รักมิตร ผู้ซึ่งเป็นตัวอย่างของการเป็น
         คนดีเป็นแพทย์ที่ดีของผม ที่ให้เกียรติเขียนคํานิยม และที่สําคัญที่สุดขอกราบขอบพระคุณคนไข้ทุกคน ที่ให้โอกาสเราได้ทํา
         ความดีให้การรักษาพยาบาล และยังเป็นครูที่ยิ่งใหญ่ให้เราได้เรียนรู้ โดยเฉพาะเมื่อเกิดผลไม่พึงประสงค์จากการรักษาพยาบาล


                                                                                  "ขอบคุณที่เป็นคนดี"
                                                                                  นพ.พิษณุ  ขันติพงษ์


         หมายเหตุ : บทความทุกตอนได้รับการตีพิมพ์ในวารสารโรงพยาบาลน่าน ถือเป็นลิขสิทธิ์ของโรงบาลน่าน
   1   2   3   4   5   6   7   8   9   10