Page 4 - การดูแลผู้ป่วยด้วยหัวใจบนพื้นฐานของความรู้
P. 4

4

                                                         ค านิยม


                หนังสือเล่มนี้ นพ.พิษณุ  ขันติพงษ์  ได้ใช้ความพยายามรวบรวมประสบการณ์จากการทํางานในอดีต รวมทั้งในขณะที่
         ดํารงตําแหน่งผู้อํานวยการ รพ.น่าน เกือบ 2 ปี (พ.ศ.2556-2557) มาถ่ายทอดให้แพทย์และบุคลากรทางการแพทย์รุ่นหลังได้
         ใช้เป็นแนวทางในการทํางานในยุคที่อิทธิพลของการสื่อสารไร้พรมแดน หรือที่เรียกกันว่า โซเชียลเน็ตเวิร์ค (Social Network)

         เข้ามามีส่วนสําคัญอย่างมากในวงการแพทย์ทั้งในเชิงบวกและเชิงลบ จึงนับว่าเป็นหนังสือที่มีคุณค่าสําหรับวงการแพทย์ในยุค
         High Tech, Low Touch เล่มหนึ่ง และเป็นหนังสือที่หาอ่านได้ยาก เนื่องจากไม่ค่อยจะมีคนเขียนกันในแนวนี้มากนัก ทั้งๆ
         ที่เป็นเรื่องที่ถือว่าจําเป็นอย่างยิ่งสําหรับผู้ปฏิบัติงาน
                 นอกจากผู้อ่านจะได้สาระจากเรื่องราวที่ผู้เขียนได้พบจากความผิดพลาดต่างๆ ที่ได้รับทราบ หรือเรียนรู้ผ่าน

         กระบวนการปฏิบัติงานในฐานะอนุกรรมการ มาตรา 41 ระดับจังหวัด ที่ผ่านมาแล้ว ข้อคิดหรือหลักการสําคัญของหนังสือนี้
         จะครอบคลุมประเด็นที่ถือว่าเป็นหัวใจของเนื้อหาสาระทั้งหมด ประกอบด้วย

                ประการแรก- ค าว่า มนุษย์ นั้น มาจากค าสองค า คือ  “มน (มะนะ)”  ซึ่งแปลว่า “ใจ”  กับ “อุษย์” ซึ่ง แปลว่า
         “สูง”  ดังนั้น คําว่า มนุษย์ จึงหมายถึง ผู้มีจิตใจสูง หรือ ไม่ใฝุต่ําเข้าใกล้กิเลส
                 ประการที่สอง –จากพระราชอนุศาสตร์ของสมเด็จพระมหิตลาธิเบศร อดุลยเดชวิกรม พระบรมราชชนก ที่ได้
         พระราชทานแก่นักศึกษาแพทย์ทั้งหลายว่า “ฉันไม่ต้องการให้เธอเป็นเพียงหมออย่างเดียว แต่ฉันต้องการให้เธอเป็นคน

         ด้วย” ( คน = มนุษย์ ) และ “ขอให้ถือประโยชน์ส่วนตัวเป็นกิจที่สอง  ประโยชน์ของเพื่อนมนุษย์เป็นกิจที่หนึ่ง” รวมทั้ง
         ธรรมบทที่ว่า “อัตตานัง อุปมัง  กเร” คือ การเอาใจเขา  มาใส่ใจเรา

                 ประการที่สาม -การที่ถือว่า โรงพยาบาลเป็นเสมือนธนาคารชีวิต ซึ่งเพื่อนมนุษย์ด้วยกันเอาชีวิตมาฝากไว้ เพราะเขา
         ได้ให้ความไว้วางใจ ไว้ใจว่าเราจะดูแลเขาด้วยความเมตตากรุณา มีความปรารถนาดีที่จะให้เขาพ้นทุกข์ วางใจว่าเราจะมี
         สมรรถนะ  มีความสามารถพอที่จะช่วยให้เขาพ้นทุกข์ได้  รวมทั้งกฎเสนาบดีที่เกี่ยวข้องกับการปฏิบัติหน้าที่ของผู้ประกอบโรค
         ศิลปะ พ.ศ. 2472 ที่ว่า “จะต้องปฏิบัติหน้าที่อย่างเต็มความสามารถ ด้วยความระมัดระวัง และหวังดีต่อผู้ป่วย”

                 หลักการสําคัญที่เกี่ยวข้องทั้งหมดที่ต้องใช้หลักมนุษย์ ปฏิบัติต่อมนุษย์ เยี่ยงมนุษย์นั้น  ต้องมีคุณธรรมพื้นฐานที่
         สําคัญคือ “พรหมวิหารธรรม” อันได้แก่ เมตตา (มีความปรารถนาให้เขามีความสุข) กรุณา (มีความปรารถนาให้เขาพ้นทุกข์)
         มุทิตา (มีความปีติยินดีที่เขาได้พ้นทุกข์) และ อุเบกขา ( การมีใจเป็นกลางเมื่อได้ทําสิ่งทุกอย่างได้อย่างถูกต้องครบถ้วนแล้ว

         แต่ยังไม่สามารถจะช่วยเหลือเขาได้)
                โรงพยาบาลน่าน  ได้ปรับแนวคิดดังกล่าวมาเป็นค่านิยมหลัก (Core Value) ขององค์กรและยึดเป็นแนวปฏิบัติของ
         ผู้ปฏิบัติงานทุกระดับมายาวนาน คือ

                    1) การให้บริการอย่างเต็มความรู้ความสามารถ (Quality Care)
                    2) การให้บริการด้วยความระมัดระวังไม่ประมาท (Safety Care)
                    3) การให้บริการด้วยความหวังดีต่อผู้ป่วยและญาติ (Humanized Care)

              การได้เรียนรู้จากเรื่องราว หรือข้อผิดพลาดที่เกิดขึ้นมาแล้วนั้น มีประโยชน์อย่างยิ่งต่อการปูองกัน หรือแก้ไขป๎ญหาที่
         อาจจะเกิดขึ้นระหว่างผู้ให้บริการกับผู้ปุวยและญาติ ผ่านกระบวนการสื่อสารที่ดี เหมาะสมกับสถานการณ์ จะช่วยลดความ
         ขัดแย้ง หรือการฟูองร้องได้เป็นอย่างดี

                ดังนั้น หากผู้อ่านได้นําแนวคิด แนวทางปฏิบัติที่เหมาะสมไปปรับใช้กับการปฏิบัติงานจริงในป๎จจุบันแล้ว  ก็จะเกิด
         ประโยชน์ต่อตัวผู้อ่านเอง ต่อองค์กร และวงการแพทย์โดยรวม องค์กรใดที่ตั้งเปูาหมายที่จะเป็น องค์กรที่บริการด้วยหัวใจ
         บนพื้นฐานของความรู้ (Humanized Healthcare) ผู้บริหารทุกระดับจะต้องตระหนัก และเข้าใจหลักการดังกล่าวอย่างถ่องแท้

         เป็นผู้นําในการปฏิบัติและถ่ายทอดสู่ผู้ปฏิบัติงานในทุกๆ งานในองค์กร รวมถึงมีระบบการติดตาม ประเมินผลที่เป็นรูปธรรม
                ผมขอขอบคุณ นพ.พิษณุ ขันติพงษ์ ที่ได้รวบรวมเรื่องดังกล่าวมาเป็นวิทยาทานแก่เพื่อนร่วมวิชาชีพ วงการแพทย์และ
         การสาธารณสุขให้ได้เรียนรู้ร่วมกัน ซึ่งประโยชน์สุดท้ายก็จะบังเกิดแก่ประชาชนชาวไทยต่อไป.


                                                                               นายแพทย์บุญยงค์  วงศ์รักมิตร
                                                                           แพทย์อาวุโส จังหวัดน่าน
   1   2   3   4   5   6   7   8   9