Page 25 - การดูแลผู้ป่วยด้วยหัวใจบนพื้นฐานของความรู้
P. 25

25


                ป๎ญหานี้ผมคิดว่าควรให้ภาคเอกชนมีส่วนร่วมแก้ป๎ญหา โดยการสร้างอาคารจอดรถซึ่งต้องใช้เงินลงทุนมาก รพ.ส่วน

         ใหญ่ไม่มีเงินมากพอ และรพ.สมควรใช้เงินเพื่อการพัฒนา การดูแลรักษาคนไข้มากกว่าและเก็บค่าบริการตามสมควร เนื่องจาก
         เป็นป๎ญหาความเดือดร้อนของประชาชน
                ป๎ญหาเรื่องหาห้องตรวจไม่พบก็เป็นป๎ญหาของรพ.ใหญ่เช่นกัน เพราะห้องตรวจแต่ละแผนกอยู่ไกลกันมาก บางแห่งขีด

         เส้นสีต่างๆ ที่พื้นเพื่อนําทางไปห้องตรวจปรากฏว่ามีเส้นสีต่างๆ มากมายจนคนไข้สบสนและบางแห่งเส้นสีต่างๆ จางหมดแล้ว
         คนไข้จึงไปไม่ถึงห้องตรวจ ผมมักแนะนําให้เหล่าจิตอาสาที่มาบําเพ็ญประโยชน์ในรพ.เป็นคนพาไปดีกว่า เนื่องจากช่วยให้ความ
         สะดวกและพูดคุยเป็นเพื่อนทําให้คนไข้ไม่เครียดด้วย

                เรื่องเหล่านี้ดูเหมือนจะไม่ใช่เรื่องสําคัญ แต่ก็เป็นต้นเหตุให้เกิดความไม่พอใจนําไปถึงความขัดแย้งได้โดยง่าย เนื่องจาก
         คนไข้เกิดอาการหงุดหงิดจากเหตุเหล่านี้ เมื่อมีป๎ญหาเกี่ยวกับการดูแลรักษาจึงทําให้ไม่พอใจมาก เป็นเหตุให้เกิดความขัดแย้ง
         ได้
              นอกจากนี้ป๎ญหาบางอย่างที่เกิดขึ้นกับคนไข้ ทั้งที่ไม่ได้เป็นจากการรักษาพยาบาลโดยตรง เช่น มีอยู่ครั้งหนึ่งคุณยาย

         อายุ 70 กว่าปีปุวยเป็นมะเร็งเต้านม แพทย์ผ่าตัดรักษาแล้วและนัดมาให้เคมีบําบัดเป็นครั้งสุดท้าย ญาติจองห้องพิเศษได้
         แล้วแต่กําลังทําความสะอาดจะต้องรออีก 2 ชม. จึงให้ไปรอที่หอผู้ปุวยสามัญแผนกศัลยกรรม ซึ่งมีคนไข้ล้นต้องเสริมเตียงแล้ว

         พยาบาลจึงให้นอนพักชั่วคราวระหว่างรอห้องที่บริเวณระเบียงโดยใช้เตียงผ้าใบแบบพับได้ซึ่งได้มาตรฐาน (ขณะนั้นใช้กันในรพ.
         ทุกแห่งเมื่อมีคนไข้มาก) พร้อมกับกําชับให้ลูกสาวเฝูาดูแล เนื่องจากพยาบาลต้องทํางานบริการคนไข้มากไม่สามารถดูแล
         ตลอดเวลาได้
                แต่แล้วเหตุการณ์ที่ไม่คาดคิดก็เกิดขึ้น เนื่องจากคุณยายจะลุกเข้าห้องน้ําโดยไม่ได้รอลูกสาวที่เดินไปบริเวณอื่น แต่ลุก

         ไม่ขึ้นเนื่องจากค่อนข้างอ้วนต้องนั่งบริเวณขอบเตียง ทําให้เตียงล้มเป็นเหตุให้กระดูกต้นขาข้างหนึ่งหัก ทางรพ.ได้ให้การดูแล
         รักษาเป็นทีมตั้งแต่ต้น ทําการผ่าตัดใส่เหล็กจนหายดีและดูแลรักษาโรคมะเร็งเต้านมต่อจนให้เคมีบําบัดครบ ทั้งยังส่งไปทําการ
         ฉายรังสีรักษาต่อที่ศูนย์มะเร็งลําปาง โดยมีผู้ช่วยเหลือคนไข้ช่วยดูแลตลอดการรักษา โดยทางรพ.ไม่ได้คิดค่าใช้จ่ายใด ๆ ต่อมา

         เมื่อการรักษาสิ้นสุดลง ลูกๆ แสดงความไม่พอใจจึงไปฟูองศาลเพื่อเรียกค่าเสียหายจากทางรพ.เพิ่ม ทําให้ต้องเป็นคดีขึ้นศาล
         นานพอควร แต่ในที่สุดศาลสั่งยกฟูองเนื่องจากรพ.ได้ให้การดูแลรักษาคนไข้อย่างดีที่สุดแล้ว และการตกเตียงก็ไม่ได้เกิดจาก
         ทางรพ.ประมาทแต่อย่างใด

                อีกรายหนึ่งเกิดขึ้นขณะผมเป็นผู้บริหารรพ.เช่นกัน มีคนไข้เพศหญิงอายุ 50 ปีเศษ แพทย์ให้การวินิจฉัยว่าเป็นไข้
         ไทฟอยด์ รับเข้ารักษาในรพ.และอนุญาตให้อยู่ห้องพิเศษได้ เวลาตีห้าพยาบาลเข้าไปวัดสัญญาณชีพที่ห้องพบว่าคนไข้ไม่อยู่มีแต่
         ลูกชายที่นอนเฝูาโดยเอาโซฟาสําหรับให้ญาตินอนขวางประตูทางออกไว้ ลูกชายไม่รู้เรื่องหรือได้ยินเสียงอะไรผิดปกติแสดงว่า

         คนไข้ปีนออกไปทางระเบียงหลังห้องซึ่งไม่สูงมากนัก และห้องคนไข้อยู่บริเวณชั้นล่างด้วย ผมทราบข่าวเมื่อ6โมงเช้าจึงได้
         ประสานงานกับทางตํารวจให้ช่วยออกค้นหา แจ้งให้สามีที่บ้านทราบซึ่งคนไข้ไม่ได้กลับบ้านหรือไปที่บ้านญาติแต่อย่างใด มีคน
         พบเห็นคนไข้ในชุดรพ.เดินออกมานอกรพ.ตอนตีห้าไปทางริมแม่น้ําซึ่งอยู่ด้านข้างรพ. ผมสังหรณ์ใจว่าคนไข้คงจะโดดน้ําเพื่อฆ่า

         ตัวตาย เมื่อสอบถามสามีและลูกจึงได้รับทราบว่าคนไข้บ่นอยากตาย และเคยพยายามมาแล้วแต่ไม่สําเร็จ แต่ไม่ได้บอกให้ทาง
         รพ.ทราบ เพียงดูแลใกล้ชิดและปูองกันด้วยการให้ลูกชายนอนขวางประตูห้องไว้ ผมถือว่าเกิดความผิดพลาดในการซักประวัติ
         และการประเมินสุขภาพจิตเมื่อแรกรับเพราะถ้ามีประวัติอยากฆ่าตัวตาย จะไม่อนุญาตให้นอนห้องพิเศษแต่จะต้องอยู่ในการ

         ดูแลของพยาบาลอย่างใกล้ชิด
                ผมได้ประสานงานกับทางองค์กรปกครองท้องถิ่นด้วย เพื่อให้ทางอาสาสมัครช่วยค้นหา จนกระทั่งบ่ายวันนั้นจึงได้พบ
         ศพคนไข้ริมฝ๎่งน้ําห่างจากรพไปหลายกิโลเมตร ญาติไม่ติดใจเอาความรพ.เพราะเห็นว่าไม่ใช่ความผิดของรพ. โดยตรงและทาง
         รพ.ก็ช่วยดําเนินการอย่างเต็มที่ ผมได้รายงานให้ผู้บังคับบัญชาทราบ ได้ขอร้องให้ทางสื่อมวลชนไม่เสนอข่าวเนื่องจากจะทําให้

         คนไข้ซึ่งเป็นครูโรงเรียนมีชื่อ มีลูกศิษย์มากมายและทางครอบครัวเสื่อมเสียได้ ผู้ว่าราชการจังหวัดได้มาเยี่ยมบริเวณที่เกิดเหตุ
         และขอให้ผมติดซี่กรงบริเวณระเบียงทุกชั้น ผมได้ชี้แจงไปว่าห้องพิเศษนั้นควรมีบรรยากาศที่ดีไม่ใช่เหมือนอยู่ในกรง ผมจึง

         เสนอว่าจะทําไม้ระแนงเตี้ยๆ ที่บริเวณระเบียงอย่างน้อยก็ทําให้ปีนลําบากขึ้น และปลูกไม้เลื้อยหรือแขวนกล้วยไม้จะทําให้
         บรรยากาศเหมาะกับการพักฟื้นไข้ และจะกําชับให้เจ้าหน้าที่รพ.ซักประวัติตลอดจนประเมินสุขภาพจิตคนไข้ให้รัดกุมขึ้น
   20   21   22   23   24   25   26   27   28   29   30