Page 28 - การดูแลผู้ป่วยด้วยหัวใจบนพื้นฐานของความรู้
P. 28

28


                สําหรับรพ.ชุมชน 692 แห่งทั่วประเทศนั้นมีการจัดระดับขนาดและศักยภาพของรพ.ตามตําแหน่งที่ตั้ง จํานวน

         ประชากร บางแห่งมีขนาดใหญ่มีแพทย์เฉพาะทางครบแต่บางแห่งมีแต่แพทย์ทั่วไป สมัยก่อนแพทย์รพช.สามารถทําผ่าตัดได้
         เช่นผ่าตัดไส้ติ่ง ผ่าตัดคลอด ผ่าตัดไส้เลื่อนซึ่งมีคนไข้เป็นจํานวนมาก แต่หลังเกิดเหตุการณ์ที่รพช.ร่อนพิบูลย์นครศรีธรรมราช
         แพทย์ทําการผ่าตัดไส้ติ่งโดยใช้วิธีฉีดยาชาเข้าไขสันหลังเพื่อระงับความรู้สึกขณะผ่าตัดซึ่งเป็นวิธีการรักษาที่ปฏิบัติกันมาตลอด

         และเป็นมาตรฐานการรักษาที่แพทย์ทุกคนสามารถทําได้ แต่ในรายนั้นคนไข้เสียชีวิตจากภาวะแทรกซ้อนการฉีดยาชาเข้าไขสัน
         หลังซึ่งพบได้น้อย ส่วนใหญ่ให้การแก้ไขได้ แต่รายนี้เกิดรุนแรงถึงขั้นเสียชีวิต ญาติไม่พอใจไปแจ้งความที่สถานีตํารวจเพื่อ
         ดําเนินการฟูองศาลทางอาญาเอาผิดแพทย์ (กรณีนี้ผมมีความสงสัยมาตลอดว่าทําไมศาลจึงรับฟูองอาญาแพทย์ เพราะแพทย์

         ไม่ได้มีมูลเหตุอันใดที่จะทําร้ายหรือฆ่าคนไข้ แพทย์ไม่ใช่ฆาตกร ซึ่งในป๎จจุบันมีข้อตกลงระหว่างแพทย์สภากับสํานักงานตํารวจ
         แห่งชาติ ว่ากรณีที่คนไข้หรือญาติไปแจ้งความที่โรงพักทางตํารวจจะต้องมีหนังสือแจ้งแพทย์สภาเพื่อพิจารณาว่าควรรับแจ้ง
         ความเพื่อดําเนินคดีอาญากับแพทย์หรือไม่) คดีนี้ศาลชั้นต้นตัดสินว่าแพทย์ผิด จึงเกิดผลกระทบต่อวงการแพทย์ครั้งยิ่งใหญ่
         รพช.เลิกทําผ่าตัดเนื่องจากไม่มีวิสัญญีแพทย์ เป็นเหตุให้คนไข้ที่ปุวยเป็นไส้ติ่งอักเสบเกิดภาวะแทรกซ้อนมากมายเช่นไส้ติ่งแตก

         มากขึ้นเพราะต้องรอห้องผ่าตัดในรพ.จังหวัด ที่มีคนไข้ปุวยเป็นโรคยากต้องอาศัยแพทย์เฉพาะทางศัลยกรรมผ่าตัด ไส้ติ่งอักเสบ
         ที่ควรได้รับการผ่าตัดโดยเร็วกลับต้องส่งตัวมารักษาในรพ.ระดับจังหวัด เช่นเดียวกับคนไข้ทางสูติกรรมพบมีเด็กแรกเกิดขาด

         ออกซิเจนมากขึ้นเนื่องจากต้องส่งต่อมาผ่าตัดคลอดในรพ.จังหวัดกรณีทารกในครรภ์เกิดภาวะวิกฤต เป็นต้น
                รพ.ทั่วไปของสธ.มี 64 แห่งรพ.ศูนย์ 25 แห่ง (จากสถิติสธ.พศ.2551) ต่างก็มีศักยภาพที่แตกต่างกันไปโดยการแบ่ง
         พื้นที่เขตุสุขภาพทั่วประเทศรวม 13 เขตุ ทุกเขตุจะมีรพ.ศูนย์ที่มีศักยภาพในการดูแลรักษาประชาชนให้สิ้นสุดในเขตุของตนเอง
         นอกจากกรณีที่การเจ็บปุวยนั้นซับซ้อนเกินเหตุก็สามารถส่งรพ.มหาวิทยาลัยภายในเขตุนั้นๆได้ การทํางานจึงต้องอาศัยรูปแบบ

         เป็นเครือข่ายตั้งแต่รพสต.จนถึงรพท./รพศ.โดยยึดเอาคนไข้เป็นศูนย์กลางให้ได้ประโยชน์สูงสุด
                ป๎จจุบันเนื่องจากความก้าวหน้าทางการแพทย์มีมากขึ้น การรักษาโรคที่ซับซ้อนทําได้มากกว่าในอดีต อย่างไรก็ตาม
         บางครั้งแพทย์ผู้รักษาต้องการที่จะรักษาคนไข้ให้ถึงที่สุดโดยลืมนึกไปว่าอาจเป็นการสร้างความทุกข์ทรมานให้คนไข้มากขึ้น

         โดยเฉพาะในรายที่มีอายุมากหรือปุวยเรื้อรังจนรักษาไม่หายแล้ว จึงต้องคํานึงถึงศักดิ์ศรีความเป็นมนุษย์ของคนไข้ด้วย
         จําเป็นต้องมีการพูดคุยปรึกษาหารือกันบ่อยๆที่มีอาการเปลี่ยนแปลงไปในทางเลวลงระหว่างฝุายแพทย์ที่รักษาและฝุายคนไข้
         โดยยึดเอาประโยชน์ของคนไข้เป็นสําคัญ บางครั้งในการช่วยชีวิตคนไข้กับการยืดชีวิตคนไข้เพียงชั่วขณะ ซึ่งเส้นแบ่งนั้นอยู่ใกล้

         กันมาก การยืดชีวิตเพียงชั่วขณะอาจทําให้เกิดการทุกข์ทรมานกับคนไข้และสิ้นเปลืองใช้เงินมาก ทําให้ลูกหลานไม่สบายใจที่ได้
         เห็นคนไข้ทรมานจากการรักษาเช่นการเจาะคอใส่ท่อช่วยหายใจและหลายคนต้องเดือดร้อนจากการค่าใช้จ่ายที่เพิ่มขึ้นโดยที่ผล
         สุดท้ายคนไข้ก็ต้องจากไป

                การสร้างคนคุณภาพในรพ.จึงมีความสําคัญที่สุด คนคุณภาพจําเป็นต้องเริ่มจากการเปิดใจรับสิ่งใหม่ๆที่ดีขึ้น พร้อมรับ
         การเปลี่ยนแปลงแก้ไขตนเอง ผมพบว่าในบรรดาเจ้าที่รพ.นั้นแพทย์และบุคลากรสายวิชาชีพที่มีความรู้สูง บางคนเรียนต่อเป็น
         ผู้เชี่ยวชาญเฉพาะทางแขนงย่อย บางคนจบปริญญาโท ปริญญาเอก บุคลากรเหล่านี้ส่วนใหญ่มีความมั่นใจในตนเองสูงมากจน

         ทําให้ไม่ยอมรับความคิดเห็นผู้อื่น จึงจําเป็นที่จะต้องแก้ไขโดยลดการมีตัวตนเสียก่อน ซึ่งต้องอาศัยตนเองเท่านั้นเป็นสําคัญ
         และมีเพื่อนร่วมงานช่วยกันfeed backพร้อมกับการให้กําลังใจเป็นสําคัญ  เมื่อคนในองค์มีคุณภาพแล้วรพ.คุณภาพจึงจะ
         เกิดขึ้นอย่างมั่นคงและยั่งยืน

                ดังนั้นการดูแลสุขภาพของประชาชนจึงจําเป็นต้องเริ่มจากการส่งเสริมให้ประชาชนมีสุขภาพ พลานามัยดี การปูองกัน
         โรคติดต่อและโรคเรื้อรังที่ปูองกันได้ ด้วยการให้ความรู้กับประชาชนสําหรับโรคที่ปูองกันได้ การฉีดวัคซีนปูองกันโรคติดเชื้อบาง
         ชนิด แล้วจึงจะมาถึงการรักษาโรคให้ดีที่สุดสําหรับคนไข้แต่ละคนและตามมาตรฐานของรพ.แต่ละระดับ จึงจําเป็นต้องมีการ
         ตรวจสอบคุณภาพของรพ.ทุกแห่งและออกใบรับรองที่มีอายุจํากัดไว้เพื่อให้ประชาชนเกิดความมั่นใจเมื่อมาใช้บริการ ผู้เยี่ยม

         สํารวจคุณภาพรพ.จะต้องมาเยี่ยมสํารวจเป็นระยะๆ เพื่อให้มั่นใจว่ารพ.แห่งนั้นยังมีขบวนการคุณภาพอย่างต่อเนื่อง
   23   24   25   26   27   28   29   30   31   32