Page 27 - การดูแลผู้ป่วยด้วยหัวใจบนพื้นฐานของความรู้
P. 27

27
























                โดยทั่วไปแล้วรพ.ทุกแห่งจะให้การดูแลรักษาคนไข้อย่างดีที่สุด ซึ่งคําว่าดีที่สุดก็ขึ้นกับว่ารพ.นั้นมีขนาดใดมีจํานวน

         เตียงบริการคนไข้เท่าใด รับผิดชอบดูแลประชาชนในพื้นที่เท่าใด รพ.บางแห่งแม้ว่าจะมีขนาดเล็ก แต่ด้วยตําแหน่งอยู่ในถิ่น
         ทุรกันดารที่การคมนาคมลําบากใช้เวลานานในการเดินทางเพื่อส่งต่อคนไข้ อาจจําเป็นต้องมีศักยภาพที่สูงกว่ารพ.ระดับ
         เดียวกัน ทั้งนี้เพื่อสามารถให้การดูแลรักษาคนไข้ในระยะวิกฤติก่อนส่งตัวไปรพ.ขนาดใหญ่ที่มีศักยภาพดูแลรักษาได้ดีขึ้น
                รพ.สต.ที่มีอยู่เป็นจํานวน 9,878 แห่ง เกือบจะทุกตําบลจัดเป็นหน่วยบริการที่เล็กที่สุด มีพยาบาลวิชาชีพ นักวิชาการ

         สาธารณสุขประจําอยู่ 24 ชม. ตามหน้าที่นั้นควรเน้นหนักในการส่งเสริมและปูองกันโรคกับประชาชนในพื้นที่เพื่อให้มีสุขภาพ
         พลานามัยแข็งแรงทั้งกายจิตวิญญาณและสังคม ไม่ว่าจะเป็นเรื่องการให้ความรู้เกี่ยวกับสุขภาพ อาหารการกินการออก
         กําลังกายตลอดจนป๎จจัยต่างๆ ที่เกี่ยวข้อง การฉีดวัคซีนเพื่อปูองกันโรคต่างๆ แต่ป๎จจุบันเนื่องจากมีคนไข้โรคเรื้อรังเพิ่มขึ้นเป็น

         จํานวนมากไม่ว่าจะเป็นโรคความดันสูง เบาหวาน โรคหัวใจ โรคไต ฯลฯ จําเป็นต้องได้รับการรักษาอย่างต่อเนื่องทุก 1-3 เดือน
         ถ้าต้องให้คนไข้ไปรับการรักษาต่อที่รพ.ชุมชนหรือรพ.จังหวัด ทําให้เกิดความลําบากในการเดินทาง
                คนไข้บางคนอายุมากเดินไม่ค่อยไหวหรืออยู่ตามลําพังไม่มีใครพาไป ส่วนใหญ่จึงให้มารับการรักษาต่อที่รพสต. บาง

         แห่งจะมีแพทย์จากรพ.ใหญ่มาช่วยตรวจและให้คําปรึกษาสัปดาห์ละ 1-3 วัน แต่จะมีการทํางานเป็นระบบเครือข่ายที่สามารถ
         ขอคําปรึกษาตามช่องทางต่างๆ ได้และมีแนวปฏิบัติที่ชัดเจนในการดูแลคนไข้ เมื่อไรจึงจะต้องส่งต่อไปพบแพทย์ในรพ.ใหญ่
         เป็นการสร้างความสะดวกให้คนไข้และได้รับยาอย่างสม่ําเสมอ และยังนํามาเป็นกรณีศึกษาให้ชุมชนเห็นตัวอย่างเกิดความ

         ตื่นตัวดูแลรักษาสุขภาพดีขึ้น บางแห่งเกิดความร่วมมือเป็นกลุ่มอาสาร่วมใจกันดูแลคนไข้ด้วยการเยี่ยมให้กําลังใจ และ
         ตรวจสอบการทานยาอย่างถูกต้องโดยมี อสม.(อาสาสมัครสาธารณสุขประจําหมู่บ้าน) เป็นแกนนํา
                ผมจําได้ว่าที่รพ.น่านจะมีแพทย์ซึ่งหมุนเวียนกันรับผิดชอบในการนําสถิติคนไข้ที่เสียชีวิตในแต่ละเดือนมาวิเคราะห์ว่ามี

         ความผิดปกติอะไร มีการตายมากหรือน้อยกว่าเมื่อเทียบกับปีก่อนหรือไม่ คนไข้บางโรคที่ไม่สมควรตายทําไมจึงตายได้ มีอยู่
         ครั้งหนึ่งเดือนนั้นพบว่ามีคนไข้เสียชีวิตจากเส้นเลือดในสมองแตกถึง 4 ราย จากการทบทวนเวชระเบียนแล้วพบว่าทั้งหมดเป็น
         คนไข้ความดันโลหิตสูงรักษาที่รพ.น่าน ทั้ง 4 คนไม่ได้มาตรวจตามนัดทําให้ขาดยา 1-3 เดือน อาจเป็นเหตุให้ความดันขึ้นสูงจน

         เส้นเลือดในสมองแตก มีการให้ความคิดเห็นกันหลากหลายเพื่อแก้ไขป๎ญหาคนไข้ขาดยา ในที่สุดเกิดขบวนการในการตามคนไข้
         กรณีขาดนัดโดยใช้ทุกช่องทางที่มีอยู่ ขอความร่วมมือ อสม. ผู้นําชุมชนเพื่อตามคนไข้มารับยา ตั้งแต่นั้นมาไม่พบว่ามีคนไข้
         เสียชีวิตจากการขาดยาอีก
   22   23   24   25   26   27   28   29   30   31   32