Page 60 - ถาม - ตอบ สารพันปัญหาข้อกฎหมายการบริการทางการแพทย์
P. 60
ใช้ไม่ได้เฉพาะส่วนนี้ ส่วนความยินยอมให้รักษาพยาบาลตามหนังสือยินยอม
ยังคงใช้ได้ตามกฎหมาย
(๒) การให้ความยินยอมตามหนังสือยินยอม ศาลฎีกาเคยวินิจฉัยว่า การ
ให้ความยินยอมในการรักษาพยาบาล เป็นการยินยอมให้ผู้ประกอบวิชาชีพ
ทางการแพทย์ท าการรักษาพยาบาลตามมาตรฐานวิชาชีพ มิได้หมายความรวมถึง
การยินยอมให้กระท าการใดๆ ต่อร่างกาย จิตใจ ของตนเองทุกอย่าง รวมทั้ง
การกระท าโดยประมาทเลินเล่อหรือผิดมาตรฐานวิชาชีพ
ฉะนั้น เมื่อแพทย์ พยาบาล หรือเจ้าหน้าที่ได้ท าการรักษาพยาบาลตาม
มาตรฐานวิชาชีพ หนังสือยินยอมจึงสามารถคุ้มครองผู้ให้บริการดังกล่าว และ
ไม่เป็นโมฆะ หนังสือยินยอมจึงเป็นเอกสารส าคัญ และจ าเป็นต้องท าไว้เพื่อ
ประโยชน์ดังกล่าวข้างต้น
ข้อ ๕๖ การออกหนังสือรับรองการตายโดยเจ้าหน้าที่สาธารณสุข ถูกต้อง
หรือไม่ มีกฎหมายรองรับหรือไม่ และการลงความเห็นโรคหรือภาวะการตาย
สามารถลงได้ว่าอย่างไรบ้าง
การรับรองการตายมีปรากฏในพระราชบัญญัติการทะเบียนราษฎร
พ.ศ. ๒๕๓๔ มาตรา ๒๓ บัญญัติว่า “เมื่อมีคนเกิดหรือคนตาย ผู้ท าคลอดหรือ
ผู้รักษาพยาบาลต้องออกหนังสือรับรองการเกิดหรือการตายตาม แบบพิมพ์ที่
ผู้อ านวยการทะเบียนกลางก าหนดให้แก่ผู้มีหน้าที่ต้องแจ้ง ตามมาตรา ๑๘ หรือ
มาตรา ๒๑” และเมื่อพิจารณาแบบพิมพ์ ท.ร.4/1 จะเห็นว่า ในช่องผู้รับรองการ
ตายมีเจ้าหน้าที่สาธารณสุขด้วย แสดงว่า เจ้าหน้าที่สาธารณสุขที่ท าหน้าที่
รักษาพยาบาลสามารถรับรองการตายได้ แต่โดยหลักหากเสียชีวิตในโรงพยาบาล
แพทย์ต้องเป็นผู้รับรองการตาย ส่วนการลงความเห็นโรคหรือภาวะการตาย
ตามคู่มือการรับรองสาเหตุการตายของส านักงานปลัดกระทรวงสาธารณสุข
การลงความเห็นมี ๒ ลักษณะ คือ
ถาม-ตอบ สารพันปัญหาข้อกฎหมาย การบริการทางการแพทย์ ๕๒