Page 58 - ถาม - ตอบ สารพันปัญหาข้อกฎหมายการบริการทางการแพทย์
P. 58

๒. กรณีญาติหรือบุคคลอื่น เช่น นักข่าว หรือเจ้าหน้าที่ของมูลนิธิ เป็นต้น
          ซึ่งบุคคลเหล่านี้ไม่มีอ านาจในการมาถ่ายรูปผู้ป่ วย เว้นแต่ผู้ป่ วยจะยินยอม

          ถ้าผู้ป่วยไม่ยินยอมหรือยู่ภาวะไม่สามารถยินยอมหรือไม่มีสติสัมปชัญญะ ควร

          แจ้งให้บุคคลเหล่านั้นทราบ และไม่ควรอนุญาตให้ถ่ายรูป ส่วนประเด็น
          โรงพยาบาลมีอ านาจในการอนุญาตการถ่ายรูปหรือไม่นั้น เมื่อผู้ป่วยเข้ามาเป็น

          ผู้ป่วยของโรงพยาบาลแล้ว ข้อมูลการรักษาพยาบาลต่างๆ ทุกอย่าง เป็นข้อมูล
          ส่วนบุคคลด้านสุขภาพ ภาพถ่ายบาดแผล ก็ถือเป็ นข้อมูลดังกล่าวตาม

          พระราชบัญญัติข้อมูลข่าวสารของราชการ พ.ศ. ๒๕๔๐ ดังนั้น ผู้อ านวยการ

          โรงพยาบาลซึ่งเป็นผู้บริหารสูงสุดของโรงพยาบาล ย่อมเป็นผู้มีอ านาจในการ
          อนุญาตให้ถ่ายรูปหรือไม่ก็ได้ ส่วนการด าเนินการในเรื่องนี้ โรงพยาบาลควรมี

          ป้ายประชาสัมพันธ์เรื่องการถ่ายรูปผู้ป่วยในห้องฉุกเฉิน หรือในโรงพยาบาลไว้
          ด้วย โดยอ้างอิงตามมาตรา ๗ ดังกล่าว แล้วแจ้งด้วยว่า หากฝ่าฝืนและเกิดความ


          เสียหายจะต้องถูกด าเนินคดีตามกฎหมาย
                   ขณะนี้มีกรณีผู้ป่วยถ่ายคลิปจากโทรศัพท์มือถือ การรักษาพยาบาลของ
          แพทย์ในขณะนั้น บางครั้งน าลงไปเสนอในเว็บไซต์ต่างๆ ต่อว่า หรือแสดงความ

          คลางแคลงใจต่อการรักษาพยาบาลของแพทย์ ดังนั้น    ควรมีการติดป้ ายห้าม

          ผู้ป่วยหรือญาติน าโทรศัพท์มือถือ กล้องถ่ายรูป กล้องถ่ายวิดีโอ เข้าไปในห้อง
          ตรวจโรค หรือในขณะที่แพทย์ พยาบาล ท าการรักษาพยาบาล เพราะถือเป็นการ

          ละเมิดสิทธิในการท าการรักษาผู้ป่ วยของแพทย์ พยาบาล หรือเป็นการขัดขวาง

          หรือท าให้การตรวจรักษาไม่สะดวก อาจเกิดผลร้ายต่อผู้ป่วย   หากน าไปเผยแพร่

          และเกิดความเสียหายขึ้นจะต้องถูกด าเนินคดีตามกฎหมาย
                   กรณีการอัดเสียงการซักถามระหว่างการรักษาพยาบาล ก็ถือปฏิบัติใน

          ลักษณะเดียวกัน



                  ถาม-ตอบ สารพันปัญหาข้อกฎหมาย การบริการทางการแพทย์  ๕๐
   53   54   55   56   57   58   59   60   61   62   63