Page 63 - ถาม - ตอบ สารพันปัญหาข้อกฎหมายการบริการทางการแพทย์
P. 63

เชื้อ หากไม่ได้รับทราบข้อมูลดังกล่าว ซึ่งถือเป็นอันตรายต่อชีวิตและสุขภาพ

          ของภรรยา จึงน่าจะเปิ ดเผยข้อมูลได้ ส่วนตามบทบัญญัติมาตรา ๗ แห่ง

          พระราชบัญญัติสุขภาพแห่งชาติ พ.ศ.๒๕๕๐ นั้น มีองค์ประกอบคือ จะน าไป

          เปิดเผยในประการที่น่าจะเกิดความเสียหายแก่เจ้าของข้อมูลไม่ได้ กรณีนี้เป็น
          เรื่องภรรยาขอทราบข้อมูลโรคของสามี การเปิดเผยข้อมูลการติดเชื้อโรคเอดส์

          ให้ภรรยาทราบ ย่อมไม่เกิดความเสียหาย กลับจะเป็นผลดีในด้านการป้ องกัน

          การติดต่อของโรคเอดส์ (เมื่อพิจารณาตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์
          หมวด ๓ เรื่อง ความสัมพันธ์ระหว่างสามีภริยา มาตรา ๑๔๖๑ สามีภริยาต้องอยู่

          กินด้วยกันฉันสามีภริยา สามีภริยาต้องช่วยเหลืออุปการะเลี้ยงดูกันตามความ

          สามารถและฐานะของตน) ดังนั้น พยาบาลซึ่งเปิดเผยข้อมูลโรคเอดส์ของสามี
          ให้ภรรยาทราบ ย่อมไม่มีความผิด

               ข้อ ๕๘. กรณีผู้ป่วยสงสัยว่าจะติดเชื้อเอดส์ ได้รับผลการตรวจว่าติดเชื้อ

          เอดส์ ผู้ป่วยไม่ต้องการให้ญาติรับรู้ ต่อมาผู้ป่วยมีอาการทรุดลง ญาติถามอาการ
          และโรคที่ผู้ป่วยเป็นอยู่ โรงพยาบาลสามารถให้ข้อมูลดังกล่าวแก่ญาติได้หรือไม่

               กรณีนี้ก็เป็นเรื่อง ข้อมูลส่วนบุคคลด้านสุขภาพที่อยู่ในความครอบครอง

          ของราชการมีกฎหมายคุ้มครอง คือ พระราชบัญญัติข้อมูลข่าวสารของราชการ

          พ.ศ.๒๕๔๐ และพระราชบัญญัติสุขภาพแห่งชาติ พ.ศ.๒๕๕๐ การให้ข้อมูล
          เรื่องนี้ ต้องดูว่าญาติคือใคร หากเป็นภรรยาของผู้ป่วยถือว่า เป็นผู้ที่อาจได้รับ

          ผลกระทบที่อาจเป็นอันตรายต่อสุขภาพหรือต่อชีวิต จึงจ าเป็นต้องได้รับทราบ

          ข้อมูลเรื่องนี้ และน่าจะไม่ได้ก่อให้เกิดความเสียหายแก่ผู้ป่วยแต่อย่างใด การให้
          ข้อมูลนี้ เป็นการด าเนินการตามมาตรา ๒๔ (๗) แห่งพระราชบัญญัติข้อมูล

          ข่าวสารของราชการ พ.ศ.๒๕๔๐ แต่กรณีญาติอื่นๆ การให้ข้อมูลต้องได้รับ





                  ถาม-ตอบ สารพันปัญหาข้อกฎหมาย การบริการทางการแพทย์  ๕๕
   58   59   60   61   62   63   64   65   66   67   68