Page 55 - ถาม - ตอบ สารพันปัญหาข้อกฎหมายการบริการทางการแพทย์
P. 55
มาตรา ๑๗๗ “ผู้ใดเบิกความอันเป็นเท็จในการพิจารณาคดีต่อศาลถ้า
ความเท็จนั้นเป็นข้อส าคัญในคดี ต้องระวางโทษจ าคุกไม่เกินห้าปี หรือปรับ
ไม่เกินหนึ่งหมื่นบาท หรือทั้งจ าทั้งปรับ ถ้าความผิดดังกล่าวในวรรคแรก
ได้กระท าในคดีอาญา ผู้กระท าต้องระวางโทษจ าคุกไม่เกินเจ็ดปี และปรับ
ไม่เกินหนึ่งหมื่นสี่พันบาท”
จากบทบัญญัติกฎหมายดังกล่าว ผู้ใดเบิกความอันเป็นเท็จต่อศาล หรือ
น าสืบพยานเท็จก็จะมีความผิดอาญา ในกรณีผู้กระท าเป็นทนายความอาจมี
ความผิดมรรยาททนายความถึงขั้นเพิกถอนใบอนุญาตว่าความอีกกระทงหนึ่งด้วย
ข้อ ๕๒ ผ่าตัดเสริมเต้านมด้วยเต้าน ้าเกลือ ๑๐ ปี ต่อมารั่ว ผู้ป่วยจะเอา
ผิดโรงพยาบาลได้หรือไม่ แต่แพทย์ไม่ได้บอกว่ามีเปอร์เซ็นต์ที่จะรั่วได้
การฟ้ องคดีทางการแพทย์ซึ่งเป็นเรื่องละเมิด ผู้เสียหายจะต้องฟ้ องคดี
ภายใน ๑ ปีนับแต่วันรู้ถึงการละเมิดและรู้ตัวผู้ที่จะต้องชดใช้ค่าสินไหมทดแทน
หรือภายในสิบปีนับแต่วันท าละเมิด ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์
มาตรา ๔๔๘ ซึ่งกรณีการผ่าตัดเสริมเต้านมนี้ เมื่อเกิดรั่ว ถือได้ว่าเกิดการละเมิด
ขึ้นแล้ว แต่สิทธิในการน าคดีมาฟ้ องร้องเรียกค่าเสียหายต้องด าเนินการภายใน
๑๐ ปีนับแต่วันท าละเมิด กรณีนี้เมื่อล่วงเลยเวลามาเกิน ๑๐ ปีแล้ว ผู้ป่วยไม่สามารถ
ฟ้องใครได้อีก เพราะขาดอายุความตามมาตรา ๔๔๘ ส่วนกรณีการที่แพทย์ไม่ได้
บอกว่ามีเปอร์เซ็นต์ที่จะรั่วได้เป็นเรื่องการให้ข้อมูลซึ่งตามกฎหมายมาตรา ๘
แห่งพระราชบัญญัติสุขภาพแห่งชาติ พ.ศ. ๒๕๕๐ บัญญัติ ให้ผู้ให้บริการ
รักษาพยาบาลต้องให้ข้อมูลเกี่ยวกับการให้บริการแก่ผู้รับบริการอย่างครบถ้วน
เพียงพอที่จะให้ผู้รับบริการตัดสินใจว่าจะรับบริการหรือไม่ ดังนั้นการไม่ให้
ข้อมูลให้ครบถ้วนแล้วเกิดความเสียหาย อาจถือได้ว่า เป็นการปฏิบัติไม่ครบถ้วน
ถาม-ตอบ สารพันปัญหาข้อกฎหมาย การบริการทางการแพทย์ ๔๗