Page 64 - ถาม - ตอบ สารพันปัญหาข้อกฎหมายการบริการทางการแพทย์
P. 64
ความยินยอมจากผู้ป่วยก่อน หากผู้ป่วยไม่ยินยอม การเปิดเผยข้อมูลแล้ว น่าจะ
ท าให้เกิดความเสียหายกับผู้ป่วย พยาบาลผู้ให้ข้อมูลอาจมีความผิดตามกฎหมาย
ดังกล่าว ที่เป็นทั้งการละเมิดและเป็นความผิดทางอาญา ฐานเปิดเผยความลับ
ของผู้ป่วย ตามมาตรา ๓๒๓ ประมวลกฎหมายอาญา (มาตรา ๓๒๓ ผู้ใดลวงรู
หรือไดมาซึ่งความลับของผูอื่นโดยเหตุที่เปนเจาพนักงานผูมีหนาที่ โดยเหตุ
ที่ประกอบอาชีพเปนแพทยเภสัชกร คนจําหนายยา นางผดุงครรภ ผูพยาบาล
นักบวช หมอความ ทนายความ หรือผูสอบบัญชีหรือโดยเหตุที่เปนผูชวยในการ
ประกอบอาชีพนั้น แลวเปดเผยความลับนั้นในประการที่นาจะเกิดความเสียหาย
แกผูหนึ่งผูใด ตองระวางโทษจําคุกไมเกินหกเดือน หรือปรับไมเกินหนึ่งพันบาท
หรือทั้งจําทั้งปรับ ผูรับการศึกษาอบรมในอาชีพดังกลาวในวรรคแรก เปดเผย
ความลับของผูอื่น อันตนไดลวงรูหรือไดมาในการศึกษาอบรมนั้น ในประการ
ที่นาจะเกิดความเสียหายแกผูหนึ่งผูใด ตองระวางโทษเชนเดียวกัน)
ข้อ ๕๙. กรณีรักษาความลับผู้ป่วย เรื่อง ตรวจหาเชื้อ HIV ผู้ป่วยขอผล
การตรวจ (ใบตรวจ) ไม่ว่าผลจะเป็นเลือดบวกหรือลบ จะสามารถให้ใบผล
การตรวจได้หรือไม่ หลังจากคุยให้การปรึกษาแล้ว
ตามปกติผู้ป่วยย่อมมีสิทธิที่จะได้รับทราบข้อมูลการรักษาพยาบาลของ
ตนได้เสมอ ดังปรากฏจากสิทธิของผู้ป่วย ข้อ ๙ “ผู้ป่วยมีสิทธิจะได้รับทราบ
ข้อมูลเกี่ยวกับการรักษาพยาบาลเฉพาะของตนที่ปรากฏในเวชระเบียนเพื่อร้องขอ
ทั้งนี้ ข้อมูลดังกล่าวต้องไม่เป็นการละเมิดสิทธิส่วนตัวของผู้อื่น” นอกจากนี้
มาตรา ๘ แห่งพระราชบัญญัติสุขภาพแห่งชาติ พ.ศ. ๒๕๕๐ ที่บัญญัติรับรองว่า
“ในการบริการสาธารณสุข บุคลากรดานสาธารณสุขตองแจงขอมูลดานสุขภาพ
ที่เกี่ยวของกับการใหบริการใหผูรับบริการทราบอยางเพียงพอที่ผูรับบริการ
จะใชประกอบการตัดสินใจในการรับหรือไมรับบริการใด และในกรณีผูรับ
ถาม-ตอบ สารพันปัญหาข้อกฎหมาย การบริการทางการแพทย์ ๕๖