Page 54 - ถาม - ตอบ สารพันปัญหาข้อกฎหมายการบริการทางการแพทย์
P. 54
๒. โรงพยาบาลของรัฐมีจ านวนเตียงจ ากัด ต้องใช้กับผู้ป่วยรายใหม่ที่มี
ความจ าเป็นยิ่งกว่า
ดังนั้นโดยหลักเมื่อผู้ป่ วยอาการดีขึ้น ผู้ป่ วยก็จะกลับบ้าน แต่ในกรณี
ผู้ป่วยไม่ยอมกลับหรือญาติไม่ยอมมารับผู้ป่วย ในเรื่องความผิดตามกฎหมาย ไม่
มีบทบัญญัติใดก าหนดว่า การกระท าดังกล่าวมีความผิด แต่ในทางปฏิบัติการ
รักษาพยาบาลในโรงพยาบาลถือว่าสิ้นสุดลงเมื่อผู้ป่วยไม่ยอมกลับ ผู้ป่วยก็ต้อง
รับภาระค่าใช้จ่ายที่จะเกิดขึ้น โรงพยาบาลไม่สามารถจะไล่ผู้ป่ วยออกจาก
โรงพยาบาลได้ เพราะเป็นโรงพยาบาลของรัฐ การกระท าดังกล่าวอาจเป็น
ความผิดวินัยในการด าเนินการ โรงพยาบาลควรแจ้งให้ผู้ป่วยทราบว่า การรักษา
ในโรงพยาบาลสิ้นสุดลงแล้ว ถ้าผู้ป่วยไม่กลับก็จะต้องคิดค่าใช้จ่ายซึ่งผู้ป่วย
จะต้องรับผิดชอบเพราะผู้จ่ายแทนคือส านักงานหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ
ส านักงานประกันสังคม หรือ กรมบัญชีกลาง ซึ่งดูแลการรักษาพยาบาลแต่ละ
สิทธิจะไม่ยอมจ่ายค่าใช้จ่ายดังกล่าวอีก และหากผู้ป่วยไม่ยอมกลับและไม่ยอม
จ่ายค่ารักษาพยาบาลและค่าใช้จ่ายอื่นๆ โรงพยาบาลก็จะด าเนินการตามกฎหมาย
ทันที(กรณีนี้เป็นการเรียกค่าใช้จ่ายในการรักษาพยาบาล ตามประมวลกฎหมาย
แพ่งและพาณิชย์)
ข้อ ๕๑ กรณีฟ้องร้องแพทย์ ผลคดีพบว่าแพทย์ไม่ผิด เพราะน าข้อมูลเท็จ
มาสืบ ทนายความจะมีความผิดหรือไม่
กรณีการน าข้อมูลเท็จมาสืบพยานนั้น ประมวลกฎหมายอาญา มาตรา
๑๘๐ บัญญัติว่า “ผู้ใดน าสืบเท็จหรือแสดงพยานหลักฐานอันเป็นเท็จในการ
พิจารณาคดี ถ้าเป็นพยานหลักฐานในข้อส าคัญในคดีนั้น ต้องระวางโทษจ าคุก
ไม่เกินสามปี หรือปรับไม่เกินหกพันบาท หรือทั้งจ าทั้งปรับ”
ถาม-ตอบ สารพันปัญหาข้อกฎหมาย การบริการทางการแพทย์ ๔๖