Page 41 - ถาม - ตอบ สารพันปัญหาข้อกฎหมายการบริการทางการแพทย์
P. 41
การประกันตัวมี ๓ ชั้น คือ
๑. ชั้นพนักงานสอบสวน
๒. ชั้นพนักงานอัยการ
๓. ชั้นศาล
การใช้บุคคลเป็นประกัน กรณีข้าราชการต้องใช้หนังสือรับรองจาก
ต้นสังกัดและอาจต้องใช้ส าเนาบัตรข้าราชการประกอบด้วย เพื่อเป็นการยืนยัน
ตัวบุคคลและแสดงว่า เป็นข้าราชการในสังกัดนั้นๆ จริง เพราะบางทีข้าราชการ
อาจลาออก หรือ ถูกไล่ออก ปลดออก ไม่มีมีสถานะเป็นข้าราชการอีก แต่ไม่ได้
คืนบัตรข้าราชการ ซึ่งบัตรข้าราชการจะมีอายุ ๗ ปี ดังนั้น จึงไม่อาจถือว่าบัตร
ข้าราชการจะแสดงได้แน่นอนว่ารับราชการอยู่ จึงต้องมีหนังสือรับรองจากต้น
สังกัด เพื่อยืนยันว่า ขณะมาประกันตัวนั้น มีสถานะเป็นข้าราชการจริง อย่างไร
ก็ตามข้าราชการแต่ละระดับ มีวงเงินที่คิดเป็นค่าประกันตัวไม่เท่ากัน เช่น
ข้าราชการระดับ ๓ ถึง ๕ หรือเทียบเท่า สามารถประกันตนเองหรือผู้อื่นได้
ในวงเงินไม่เกินหกหมื่นบาท เป็นต้น ดังนั้น ต้องดูด้วยว่าวงเงินประกันในคดีนั้น
เป็นเงินจ านวนเท่าใด โดยดูจากข้อหาว่าร้ายแรงหรือมีอัตราโทษระดับใด ซึ่ง
เจ้าหน้าที่ต ารวจ พนักงานอัยการหรือศาลจะเป็นผู้ก าหนด
ข้อ ๓๗ ในกรณีเตียงเต็ม และได้แจ้งผู้ป่วยหรือญาติแล้ว แต่ยังไม่ยอมย้าย
ทางโรงพยาบาลย้ายเองได้หรือไม่ และถ้ารับไว้และดูแลไม่ทั่วถึงแล้วผู้ป่วยเกิด
อันตรายจะมีความผิดหรือไม่
กรณีเตียงเต็ม ไม่สามารถรับผู้ป่วยได้อีก แนวทางปฏิบัติก็คือ
(๑) ต้องดูแลให้ผู้ป่วยอยู่ในสภาวะปลอดภัย
(๒) ถ้าเห็นว่าผู้ป่วยจะต้องรักษาตัวในโรงพยาบาล ก็ให้ประสานส่งตัว
ผู้ป่วยโดยเร็ว โดยพิจารณาว่า จ าเป็นต้องส่งตัวต่อด้วยวิธีไหน ถ้าเป็นไปได้
ถาม-ตอบ สารพันปัญหาข้อกฎหมาย การบริการทางการแพทย์ ๓๓