Page 37 - ถาม - ตอบ สารพันปัญหาข้อกฎหมายการบริการทางการแพทย์
P. 37
ข้อ ๓๓ ผู้ป่วยจิตเวชอาการดีขึ้นแล้ว เมื่อแพทย์สั่งจ าหน่ายผู้ที่มาส่งและ
มารับ เป็นคนละคนกันได้หรือไม่ และถ้าญาติไม่ยอมมารับ แพทย์สามารถฟ้ อง
ญาติ ข้อหาทอดทิ้งผู้ป่วยได้หรือไม่ ในกรณีถ้าหากน าผู้ป่วยส่งกลับบ้านแล้ว
เกิดอันตรายระหว่างทาง ผู้ส่งมีความผิดหรือไม่
กรณีเรื่องนี้ ขอตอบเป็นประเด็นดังนี้
ประเด็นแรก เมื่อแพทย์สั่งจ าหน่ายผู้ป่วยแล้ว ผู้มารับกับผู้มาส่ง เป็น
คนละคนกันได้หรือไม่ เรื่องนี้ ไม่มีกฎหมายหรือระเบียบก าหนดไว้ แต่โดยหลักแล้ว
ควรให้ผู้ป่วยไปกับผู้มาส่ง (ญาติ) เนื่องจากสันนิษฐานไว้ก่อนว่า ญาติที่มาส่ง
น่าจะเป็นผู้ที่ดูแลผู้ป่วย แต่ถ้าเป็นบุคคลอื่นก็ควรสอบถามผู้ป่วยก่อน ถ้าผู้ป่วย
ยังมีสติสัมปชัญญะดีอยู่ อย่างไรก็ตาม ควรพิจารณาดูโดยให้ความส าคัญกับญาติ
สนิท เช่น ลูก บิดา มารดา สามีหรือภรรยา เป็นหลักไว้ก่อน
ประเด็นที่สอง ญาติไม่ยอมมารับ จะฟ้องข้อหาทอดทิ้งผู้ป่วยได้หรือไม่
ตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา ๓๐๗ บัญญัติว่า “ผู้ใดมีหน้าที่ตาม
กฎหมาย หรือตามสัญญาต้องดูแลผู้ซึ่งพึ่งตนเองไม่ได้เพราะอายุ ความเจ็บป่วย
กายพิการหรือจิตพิการ ทอดทิ้งผู้ซึ่งพึ่งตนเองไม่ได้นั้นเสีย โดยประการที่น่าจะ
เป็นอันตรายแก่ชีวิต ต้องระวางโทษจ าคุกไม่เกิน ๓ ปี หรือปรับไม่เกินหกพันบาท
หรือทั้งจ าทั้งปรับ “จะเห็นว่า องค์ประกอบประการหนึ่ง คือ ต้องทอดทิ้งโดย
ประการที่น่าจะเป็ นอันตราย แ ก่ชีวิตด้วย จึงจะเข้าข่ายกระท าความผิด
ซึ่งกรณีนี้ ผู้ป่วยยังอยู่กับแพทย์ พยาบาลที่โรงพยาบาล จึงไม่น่าจะเป็นอันตราย
ถึงแก่ชีวิตได้ จึงไม่เข้าองค์ประกอบความผิดข้อหาทอดทิ้งผู้ป่วย”
ประเด็นที่สาม ในกรณีน าผู้ป่วยไปส่งกลับบ้านแล้วเกิดอันตรายระหว่าง
ทาง ผู้ส่งมีความผิดหรือไม่
ถาม-ตอบ สารพันปัญหาข้อกฎหมาย การบริการทางการแพทย์ ๒๙