Page 45 - ถาม - ตอบ สารพันปัญหาข้อกฎหมายการบริการทางการแพทย์
P. 45

ปัจจุบันรัฐให้การคุ้มครองเจ้าหน้าที่ผู้ปฏิบัติงานในหน้าที่ดังนี้

                 (๑) การคุ้มครองความรับผิดทางแพ่งในเรื่องละเมิด ตามพระราชบัญญัติ

          ความรับผิดทางละเมิดของเจ้าหน้าที่ พ.ศ.๒๕๓๙ คือ หากในการปฏิบัติหน้าที่

          เกิดความเสียหายกับผู้ป่วย และไม่สามารถเจรจากันได้ ผู้ป่วยจะฟ้ องเจ้าหน้าที่ไม่ได้
          ต้องฟ้องหน่วยงานต้นสังกัดเท่านั้น ถ้าฟ้องมาศาลก็จะไม่รับฟ้ อง และถ้าเหตุเกิด

          จากการกระท าประมาทเลินเล่อ ก็ไม่ต้องรับผิดชดใช้ค่าเสียหายที่ราชการจ่ายให้

          ผู้เสียหายไป (ไล่เบี้ย) เว้นแต่จะเป็นกรณีประมาทเลินเล่ออย่างร้างแรง อาจจะต้อง
          ชดใช้เงินคืนแก่ทางราชการ ตามหลักเกณฑ์ของกระทรวงการคลัง

                 (๒) ถ้ามีการฟ้ องคดีแพ่งหรือคดีอาญา หรือคดีปกครอง ในเรื่องการ
          ปฏิบัติหน้าที่ หน่วยงานต้นสังกัด ก็จะส่งเรื่องให้พนักงานอัยการแก้ต่างคดีให้

          โดยที่ไม่ต้องจ้างทนายความ ไม่ต้องเสียค่าใช้จ่ายใดๆ เว้นแต่เป็นกรณีผู้เสียหาย

          แจ้งความร้องทุกข์ต่อพนักงานสอบสวน และพนักงานอัยการเป็นผู้ฟ้ องคดี
          เจ้าหน้าที่ ซึ่งกรณีเช่นนี้ จะต้องจ้างทนายความสู้คดีเอง เพราะจะให้พนักงาน

          อัยการสู้คดีกันไม่สามารถท าได้ ประกอบกับกรณีเช่นนี้ ถือว่ารัฐเป็นผู้ฟ้ อง
          เจ้าหน้าที่ อย่างไรก็ตาม กระทรวงสาธารณสุข ก็มีแนวทางช่วยเหลือด้านคดีอยู่

                 (๓) ในกรณีเจ้าหน้าที่ได้รับอันตรายจากการปฏิบัติหน้าที่ ก็มีการช่วยเหลือ

          ตามระเบียบกระทรวงการคลัง  หรือ ตามมาตรา ๔๒  แห่งพระราชบัญญัติ
          หลักประกันสุขภาพแห่งชาติ พ.ศ.๒๕๔๕  และยังมีเงินส่วนอื่นๆ เช่น เงินสวัสดิการ

          ของหน่วยงานในแต่ละระดับ เป็นต้น อย่างไรก็ตามหากมีสถานการณ์เปลี่ยนแปลงไป

          ก็อาจมีการให้การช่วยเหลือเพิ่มเติมด้านอื่นๆ ซึ่งก าลังพิจารณากันอยู่ในขณะนี้
               ข้อ ๔๑ การเก็บเวชระเบียน โดยปกติเก็บ ๕ ปี กฎหมายอาญา มีอายุความ

          กี่ปี  และจะมีผลอย่างไรหรือไม่ กับบุคลากรทางการแพทย์






                 ถาม-ตอบ สารพันปัญหาข้อกฎหมาย การบริการทางการแพทย์  ๓๗
   40   41   42   43   44   45   46   47   48   49   50