Page 46 - ถาม - ตอบ สารพันปัญหาข้อกฎหมายการบริการทางการแพทย์
P. 46
เวชระเบียนถือเป็นหลักฐานส าคัญในคดีทางการแพทย์ เพราะเป็นสิ่งที่
แสดงถึงกระบวนการรักษาพยาบาล ที่จะพิสูจน์ว่า การรักษาพยาบาลถูกต้องตาม
มาตรฐานวิชาชีพหรือไม่ ปกติเวชระเบียนจะเก็บไว้ ๕ ปี (หมายถึงเอกสาร) แต่
ปัจจุบันเทคโนโลยีก้าวหน้าทันสมัย สามารถสแกนเก็บรูปไว้ในรูปไฟล์ข้อมูล
ในคอมพิวเตอร์ ซึ่งใช้เนื้อที่เล็กน้อยมากและสามารถเก็บข้อมูลได้เป็นจ านวน
มาก อายุความ คดีอาญาสูงสุดคือ ๒๐ ปี แต่ส าหรับข้อหาความผิดในคดีทาง
การแพทย์ อายุความน่าจะไม่เกิน สิบห้าปี (ข้อหาประมาทเป็นเหตุให้ผู้อื่นถึงแก่
ความตาย มาตรา ๒๙๑ ประมวลกฎหมายอาญา) การเก็บเวชระเบียนไว้ ๑๕ ปี
จึงเป็นภาระอย่างมาก แต่ในทางปฏิบัติคงไม่จ าเป็นต้องเก็บข้อมูลเวชระเบียน
ของผู้ป่ วยทุกรายเกิน ๕ ปี ข้อแนะน า คือ ควรเก็บข้อมูลเวชระเบียนผู้ป่ วยที่
รักษาแล้วไม่หายขาดหรือมีแนวโน้มว่า อาจมีปัญหาในอนาคตในรูปไฟล์ข้อมูล
ซึ่งน่าจะมีน้อยมาก ส่วนใหญ่หากเกิดปัญหา ผู้ป่วยมักจะด าเนินการเรียกร้อง
หรือฟ้ องร้องคดีเลย เพราะอายุความในทางแพ่ง คือ ๑ ปี นับแต่วันเกิดเหตุและ
รู้ถึงตัวผู้ต้องรับผิดชอบ ถ้ามีการเจรจา ไกล่เกลี่ยส าเร็จก็ยุติเรื่องไม่ฟ้ องคดี
อาญาอีก นอกจากนี้ในคดีอาญา โจทก์ต้องน าสืบให้ได้ว่า จ าเลยได้กระท าการ
อันกฎหมายบัญญัติเป็นความผิด ศาลจึงจะเชื่อ ถ้าสืบไม่ชัดเจนศาลก็จะยกฟ้ อง
กรณีถ้าเวชระเบียนถูกท าลายไป น่าจะเป็นผลดีในทางคดีอาญา เพราะโจทก์ไม่
สามารถหาหลักฐานมายืนยันว่า จ าเลยกระท าความผิดจริง ดังนั้น จึงไม่ควรกังวล
ในประเด็นนี้
ข้อ ๔๒ การรับรองเอกสาร เช่นส าเนาทะเบียนบ้าน บัตรประชาชน
เจ้าของไม่ได้เซ็นเองผู้อื่นจะเซ็นรับรองส าเนาถูกต้องได้หรือไม่
การรับรองส าเนาเอกสาร เป็นการแสดงการรับรองว่า เอกสารฉบับนั้น
ถ่ายส าเนาภาพมาจากเอกสารฉบับจริง โดยหลักผู้ที่จะรับรองส าเนา คือ ผู้ที่ถือ
ถาม-ตอบ สารพันปัญหาข้อกฎหมาย การบริการทางการแพทย์ ๓๘