Page 66 - ถาม - ตอบ สารพันปัญหาข้อกฎหมายการบริการทางการแพทย์
P. 66
ผู้ทราบก็คือแพทย์และผู้ป่วยเท่านั้น ส่วนผู้ป่วยจะน าใบรับรองแพทย์ไปใช้หรือไม่
อย่างไร ไม่ใช่เรื่องที่อยู่ในความรับผิดชอบของแพทย์ แต่ถ้าเป็นบุคคลอื่น เช่น
นายจ้าง ญาติ หรือเพื่อนๆ เป็นต้น มาขอข้อมูล เจ้าหน้าที่ต้องไม่ให้ข้อมูลเหล่านี้
เพราะจะเข้าข่ายผิดกฎหมายหลายฉบับ ทั้งทางแพ่งและอาญา เว้นแต่จะได้รับ
ความยินยอมจากผู้ป่วย หรือเป็นกรณีที่มีกฎหมายบัญญัติให้ต้องเปิดเผย
ข้อ ๖๒. ผู้ป่วยอายุ ๒๗ ปี (โสด) ไปท าแท้ง sepsis จนช็อค แพทย์
ประเมินแล้วโอกาสตายมากกว่ารอด ผู้ป่วยร้องขอไม่ให้บอกพ่อ – แม่ สุดท้าย
แพทย์ตัดสินใจติดต่อพ่อ – แม่ และบอกความจริงให้ทราบ แพทย์และพยาบาล
ละเมิดสิทธิผู้ป่วยไม่รักษาความลับให้ผู้ป่วยหรือไม่
กรณีนี้เป็นการเปิดเผยข้อมูลเกี่ยวกับประวัติผู้ป่วย ต้องพิจารณากฎหมาย
ที่เกี่ยวข้อง ๓ ฉบับ คือประมวลกฎหมายอาญา มาตรา ๓๒๓ ฐานเปิดเผยความลับ
พระราชบัญญัติสุขภาพแห่งชาติ พ.ศ.๒๕๕๐ มาตรา ๗ และพระราชบัญญัติ
ข้อมูลข่าวสารของราชการ พ.ศ. ๒๕๔๐ มาตรา ๒๔ (๗) ซึ่งองค์ประกอบความผิด
ที่ส าคัญ คือ ต้องไม่น่าจะท าให้เจ้าของข้อมูลได้รับความเสียหาย (ไม่จ าเป็นต้อง
เกิดความเสียหายแล้ว) เมื่อพิจารณาแล้ว กรณีนี้โดยหลักผู้ป่วยบรรลุนิติภาวะ
(อายุเกิน ๒๐ ป ี) แล้ว จึงสามารถให้ความยินยอมด้วยตัวเองได้ เมื่อผู้ป่วยไม่
อนุญาต แพทย์ พยาบาลจะน าข้อมูลการป่วยไปบอกผู้อื่น รวมทั้งบิดา – มารดา
ผู้ป่วยไม่ได้ เว้นแต่เหตุจ าเป็นจริงๆ ก็อาจต้องบอก บิดา – มารดา ผู้ป่วยได้ โดย
ต้องไม่น่าจะท าให้เกิดความเสียหายและอาจเป็นการจ าเป็นที่อาจช่วยชีวิตของ
ผู้ป่วยได้ แพทย์ พยาบาล ก็ไม่มีความผิด ฉะนั้นต้องดูเหตุผลที่น่าจะเป็นข้อยกเว้น
ให้ไม่ต้องรับผิดตามที่กฎหมายเปิดช่องไว้ อย่างไรก็ตามให้ถือหลักการขอความ
ยินยอมก่อน หากไม่ยินยอมให้บันทึกไว้หรือให้เซ็นไม่ยินยอมไว้
ถาม-ตอบ สารพันปัญหาข้อกฎหมาย การบริการทางการแพทย์ ๕๘