Page 48 - ถาม - ตอบ สารพันปัญหาข้อกฎหมายการบริการทางการแพทย์
P. 48

มาตรา ๘๒ บัญญัติว่า เจ้าพนักงานผู้จัดการตามหมายจับ จะขอความ
          ช่วยเหลือจากบุคคลใกล้เคียง เพื่อจัดการตามหมายนั้นก็ได้ แต่จะบังคับให้ผู้ใด

          ช่วยโดยอาจเกิดอันตรายแก่เขานั้นไม่ได้ เป็นต้น

                 จากบทบัญญัติดังกล่าว จะเห็นว่า ผู้จะท าการจับแล้วใส่กุญแจมือ
          โดยหลักต้องเป็นเจ้าพนักงานที่มีกฎหมายก าหนดไว้ ต ารวจ เจ้าพนักงานฝ่ายปกครอง

          เป็นต้น ประชาชนจะจับใครใส่กุญแจมือไม่ได้ เว้นแต่เป็นกรณี  เจ้าพนักงาน
          ขอความช่วยเหลือ เพื่อจัดการตามหมายจับเท่านั้นหากประชาชนท าเอง อาจมี

          ความผิดฐานหน่วงเหนี่ยวกักขัง ตามประมวลกฎหมายอาญามาตรา ๓๑๐ (เจตนา)

          หรือ มาตรา ๓๑๑ (ประมาท) มีโทษถึงจ าคุก ดังนั้นพนักงานรักษาความ
          ปลอดภัย หรือ รปภ จะจับผู้ป่วยที่เอะอะโวยวายในโรงพยาบาล ใส่กุญแจมือ

          ไม่ได้ อย่างไรก็ตาม ตามพระราชบัญญัติสุขภาพจิต พ.ศ. ๒๕๕๑ มาตรา ๑๗
          บัญญัติว่า “การบ าบัดรักษาโดยการผูกมัดร่างกาย การกักบริเวณหรือแยกผู้ป่วย

          จะท าไม่ได้ เว้นแต่เป็นความจ าเป็น เพื่อป้ องกันการเกิดอันตรายต่อผู้ป่วยเอง

          บุคคลอื่น หรือทรัพย์สินของผู้อื่น โดยต้องอยู่ภายใต้การดูแลอย่างใกล้ชิดของ
          ผู้บ าบัดรักษา ตามมาตรฐานวิชาชีพ”  ตามกฎหมายนี้ แพทย์หรือเจ้าหน้าที่

          สามารถผูกมัดร่างกายผู้ป่ วยได้ ในกรณีจ าเป็น แต่ต้องเป็นกรณีผู้ป่วยจิตเวช

          เท่านั้น
                 ข้อ ๔๔ กรณีคดีมีการไม่ฟ้ องโดยอัยการแล้ว โจทก์สามารถฟ้ อง

          ด าเนินคดีได้อีกหรือไม่

                 เรื่องนี้มีบัญญัติไว้ในประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา ในเรื่อง
          สิทธิของโจทก์ คือ มาตรา ๓๔ บัญญัติว่า ”ค าสั่งไม่ฟ้ องคดี หาตัดสิทธิผู้เสียหาย

          ฟ้องคดีโดยตนเองไม่ ”  ดังนั้นในคดีอาญาเรื่องเดียวกัน หากผู้เสียหายแจ้งความ
          ร้องทุกข์กับเจ้าหน้าที่ต ารวจและมีการด าเนินการ จนกระทั่งมาถึงชั้นพนักงาน




                  ถาม-ตอบ สารพันปัญหาข้อกฎหมาย การบริการทางการแพทย์  ๔๐
   43   44   45   46   47   48   49   50   51   52   53