Page 6 - แผนยุทธศาสตร์การพัฒนาโรงพยาบาลตราด พ.ศ.2561-2565
P. 6

แผนยุทธศาสตร์การพัฒนาโรงพยาบาลตราด (พ.ศ. ๒๕๖๑ – ๒๕๖๕)



                        ๑. บูรณาการและระดมพลังภาคีเครือข่ายทุกภาคส่วน เพื่อร่วมเสริมสร้างความขีดความสามารถ
               แก่ประชาชนในการจัดการสุขภาพของชุมชน ครอบครัว และตนเองอย่างมีประสิทธิภาพ ปรับเปลี่ยน

               วัฒนธรรมสุขภาพ และวิถีสุขภาวะให้มีความเข้มแข็ง เพื่อให้ระบบสุขภาพของประชาชนสามารถจัดการตนเองได้
                        ๒. จัดบริการทางการแพทย์ระดับตติยภูมิ และพัฒนาระบบการบริการสุขภาพที่มีมาตรฐานใน
               ระดับสากล มีความเป็นเลิศทางการแพทย์ โดดเด่นทางเทคโนโลยีทางการแพทย์และความเชี่ยวชาญเฉพาะ
               ทางในทุกสาขา และผสานการบริการแบบองค์รวมในการดูแลรักษา สร้างเสริมสุขภาพตามวิถีชีวิตของชุมชน

                        ๓. พัฒนาศักยภาพสถานพยาบาลในเครือข่าย ทั้งในระดับปฐมภูมิและทุติยภูมิให้มีคุณภาพ
               มาตรฐานการจัดบริการทางการแพทย์ที่มีประสิทธิภาพและไร้รอยต่อ เป็นหลักทางด้านสุขภาพให้กับชุมชน
                        ๔. ยกระดับขีดความสามารถของบุคลากรทุกระดับให้มีศักยภาพสูง และพัฒนาโรงพยาบาลสู่
               องค์กรแห่งการเรียนรู้ องค์กรนวัตกรรม พร้อมก้าวสู่การเป็นโรงพยาบาลอัจฉริยะที่มีสมรรถนะสูง มีความ

               ทันสมัย และมีระบบคุณภาพมาตรฐานในระดับสากล
                        ๕. เสริมสร้างศักยภาพทางการเงินการคลังเพื่อการพึ่งตนเอง การพัฒนาระบบการบริหารจัดการใน
               ทุกด้านของโรงพยาบาลบนพื้นฐานของหลักธรรมาภิบาล และการเติบโตด้วยหลักปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง
               รวมถึงการปรับโครงสร้างพื้นฐานให้มีมาตรฐานและเป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม


               เป้ำประสงค์สูงสุด (Ultimate Goals)
                        ๑. โรงพยาบาลมีศักยภาพทางการแพทย์ระดับเชี่ยวชาญในทุกสาขาโรคที่ประชาชนและผู้ใช้บริการ

               มีความเชื่อถือ เชื่อมั่น และไว้วางใจในคุณภาพไม่น้อยกว่าร้อยละ ๙๐ ภายใน ๕ ปี (Medical Belief and Trust)
                        ๒. โรงพยาบาลและเครือข่ายสุขภาพประสบความส าเร็จในการจัดการโรคไม่ติดต่อและโรคเรื้อรัง
               (เบาหวานและความดันโลหิตสูง) ให้ลดลงโดยมีประชากรสุขภาพดีให้ได้ไม่น้อยกว่าร้อยละ ๘๕ และบุคลากร
               สุขภาพดีไม่น้อยกว่าร้อยละ ๙๕ ภายใน ๕ ปี (High Performance Literacy)


               ประเด็นยุทธศำสตร์ (Strategic Issue)
                        กรอบของแผนยุทธศาสตร์ที่จะพัฒนาด้วยวิธีการทางยุทธศาสตร์เพื่อมุ่งสู่ผลสัมฤทธิ์สูงสุดตามที่
               ก าหนดไว้ ประกอบด้วย 4 ประเด็นยุทธศาสตร์ ดังนี้

                        ประเด็นยุทธศาสตร์ที่ 1 Smart Primary Health Care : พัฒนาคุณภาพการจัดบริการของหน่วย
               บริการสุขภาพปฐมภูมิให้มีมาตรฐาน และจัดการปัญหาสุขภาพของประชาชนในพื้นที่รับผิดชอบได้อย่างยั่งยืน
                        ประเด็นยุทธศาสตร์ที่ 2 Smart Service : พัฒนาโรงพยาบาลให้มีบริการทางการแพทย์ในระดับ
               เชี่ยวชาญ สมรรถนะสูง ทันสมัย และมีคุณภาพระดับสากล

                        ประเด็นยุทธศาสตร์ที่ 3 Smart  People  : ยกระดับขีดความสามารถของบุคลากรทางการแพทย์
               ทุกระดับให้มีศักยภาพสูง สู่การเป็นองค์กรนวัตกรรมและองค์กรแห่งการเรียนรู้
                        ประเด็นยุทธศาสตร์ที่ 4 Smart Management : พัฒนาระบบการบริหารจัดการตามหลักธรรมาภิบาล
               โครงสร้างพื้นฐานมีมาตรฐาน เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม และมุ่งสู่องค์กรดิจิทัล


               แนวทางการแปลงแผนกลยุทธ์ไปสู่การปฏิบัติ
                        เพื่อให้บรรลุตามวัตถุประสงค์และเป้าหมายดังกล่าว จึงก าหนดมาตรการและแนวทางการแปลงแผน
               ยุทธศาสตร์ไปสู่การปฏิบัติ และการติดตามประเมินผล ดังนี้








                                                                                                         4
   1   2   3   4   5   6   7   8   9   10   11