Page 9 - มาตรฐานโรงพยาบาลอาหารปลอดภัย
P. 9

บทที่ 1



               แนวทางการปฏิบัติในการด�าเนินงาน


               โรงพยาบาลอาหารปลอดภัย




                     อาหารเป็นสิ่งส�าคัญส�าหรับมนุษย์ มนุษย์จ�าเป็นต้องบริโภคอาหารเพื่อความเจริญเติบโต

               ความอยู่รอดและสามารถด�ารงชีวิตอยู่ได้ ดังนั้น อาหารที่มนุษย์บริโภค ควรเป็นอาหารที่ปลอดภัย
               ไม่มีสิ่งปนเปื้อนที่จะท�าให้เกิดอันตราย ซึ่งความปลอดภัยของอาหารนั้น ต้องเริ่มตั้งแต่ กระบวนการ
               เพาะปลูก การเก็บเกี่ยวผลผลิต การคัดเลือกวัตถุดิบ การขนส่งวัตถุดิบ การประกอบอาหาร

               การขนส่งอาหาร จึงต้องมีการควบคุมตรวจสอบความปลอดภัยในทุกกระบวนการ เพื่อให้ได้อาหาร
               ที่สะอาดปลอดภัยส�าหรับผู้บริโภค
                     จากกรอบยุทธศาสตร์ด้านการจัดการอาหารประเทศไทย โดยคณะกรรมการอาหาร

               แห่งชาติ (2556) ได้กล่าวว่า ข้อมูลองค์การอนามัยโลก (WHO) และองค์การเกษตรและอาหาร
               แห่งสหประชาชาติ (FAO) (1983) พบสาเหตุส่วนใหญ่ของการเจ็บป่วยจากการบริโภคอาหาร

               ว่าเกิดจากอาหารที่ปนเปื้อนเชื้อจุลินทรีย์และสารเคมี เช่น สารเคมีที่ใช้ในการก�าจัดศัตรูพืช
               ยาปฏิชีวนะและยาที่ใช้ในการเลี้ยงสัตว์ วัตถุเจือปนอาหาร รวมไปถึง สารพิษจากจุลินทรีย์ และ
               สารเคมีปนเปื้อนจากโรงงานอุตสาหกรรม ซึ่งนอกจากจะส่งผลกระทบโดยตรงต่อสุขภาพของ

               ผู้บริโภคแล้วยังส่งผลต่องบประมาณ และเศรษฐกิจของประเทศ ส�านักคณะกรรมการอาหาร
               แห่งชาติ ได้รายงานข้อมูลการศึกษาด้านความปลอดภัยของอาหารที่ประชากรประเทศไทย

               รับประทานอยู่เป็นประจ�า เมื่อปี พ.ศ. 2552 โดยแยกออกเป็นกลุ่มของอาหาร ดังนี้

                     1. กลุ่มเนื้อสัตว์บก  มีอัตราการตกค้างของยาปฏิชีวนะและสารเร่งเนื้อแดงค่อนข้างสูง
               ผลิตภัณฑ์เนื้อสัตว์แปรรูปมีการปนเปื้อนของสีสังเคราะห์และวัตถุกันเสียสูงเกินค่ามาตรฐาน
               เนื้อหมูสดที่จ�าหน่ายในตลาดสดทั่วไปมีการปนเปื้อนของจุลินทรีย์ซึ่งก่อให้เกิดโรคในคนได้ เช่น

               Escherichia coli, Staphylococcus aureus, Clostridium perfringens และ Salmonella spp

                     2. กลุ่มนมและผลิตภัณฑ์  พบปัญหาการปนเปื้อนของยาปฏิชีวนะและจุลินทรีย์
               เกินมาตรฐาน รวมทั้งคุณภาพด้านโภชนาการของนมที่มีโปรตีนต�่ากว่ามาตรฐาน

                     3. กลุ่มธัญพืชและผลิตภัณฑ์  พบว่ามีการปนเปื้อนสารพิษจากเชื้อรา โดยเฉพาะ

               สารอะฟลาทอกซินเกินมาตรฐาน หรือมีการปนเปื้อนของโลหะหนัก เช่น แคดเมี่ยม เมทธิลโบรไมด์
               และซัลเฟอร์ไดออกไซด์





           8      มาตรฐานโรงพยาบาลอาหารปลอดภัย (Food Safety Hospital)
   4   5   6   7   8   9   10   11   12   13   14