Page 19 - ถาม - ตอบ สารพันปัญหาข้อกฎหมายการบริการทางการแพทย์
P. 19
ข้อ ๑๒ ขั้นตอนหรือข้อควรระวังเกี่ยวกับส าเนาเวชระเบียนที่เสี่ยง
ด้านข้อกฎหมาย ควรท าอย่างไร
เวชระเบียนหรือประวัติผู้ป่ วยเป็ นเอกสารส าคัญในการ
รักษาพยาบาล เพราะเป็นเอกสารที่บันทึกการรักษาพยาบาลผู้ป่วยตั้งแต่แรกรับ
ผู้ป่วย จนกระทั่งเสร็จสิ้นการรักษา ในทางกฎหมายเวชระเบียนถือเป็นพยาน
เอกสารที่มีความส าคัญอย่างมากในคดีทางการแพทย์ เนื่องจากการที่จะต้อง
พิสูจน์ว่า กระบวนการรักษาพยาบาลผู้ป่วยถูกต้องตามมาตรฐานหรือไม่ ต้องดู
จากเวชระเบียนเป็นหลักแนวทางการเขียนเวชระเบียนควรด าเนินการดังนี้
(๑) ควรเขียนให้ละเอียดครอบคลุมกระบวนการตรวจวินิจฉัย
สั่งการรักษา
(๒) การกระท าใดที่แม้จะไม่ใช่กระบวนการรักษา แต่จะมีผล
ทางกฎหมายและมีความเกี่ยวเนื่องกับการรักษาก็ควรเขียนไว้ เช่น การยินยอม
ให้ท าการรักษากรณีฉุกเฉินหรือจ าเป็นเร่งด่วน หรือกรณีไม่ให้ความยินยอมแต่
จ าเป็นต้องท าการรักษา เนื่องจากเป็นอันตรายร้ายแรงกับผู้ป่วยก็ควรระบุไว้ใน
เวชระเบียนโดยให้มีพยานลงลายมือชื่อด้วย เป็นต้น เนื่องจากการเขียนไว้ใน
เอกสารอื่นอาจไม่ได้รับความเชื่อถือหรืออ้างว่า เขียนขึ้นทีหลังเพื่อไม่ต้อง
รับผิด ท าให้การพิสูจน์ยากขึ้น
ข้อ ๑๓ ผู้ป่วยเสียชีวิตในโรงพยาบาล กรณีใดบ้างที่จะต้องแจ้งความ
เพื่อให้เจ้าหน้าที่ต ารวจมาชันสูตรร่วม
การชันสูตรพลิกศพมีบัญญัติไว้ในประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความ
อาญา มาตรา ๑๔๘ คือ การตายในระหว่างการควบคุมของเจ้าพนักงานและ
การตายโดยผิดธรรมชาติ ต้องมีการชันสูตรพลิกศพ
ถาม-ตอบ สารพันปัญหาข้อกฎหมาย การบริการทางการแพทย์ ๑๑