Page 22 - ถาม - ตอบ สารพันปัญหาข้อกฎหมายการบริการทางการแพทย์
P. 22
ตามปกติทรัพย์สินของผู้ป่วยอยู่ในความครอบครองของผู้ป่วยเอง ผู้ป่วย
จึงเป็นผู้รับผิดชอบในทรัพย์สินของตนเอง หากมีการสูญหายย่อมไม่ถือว่าเป็น
ความผิดของโรงพยาบาล เว้นแต่ผู้ป่วยนั้นจะได้ฝากทรัพย์สินไว้กับโรงพยาบาล
หรือเจ้าหน้าที่ของโรงพยาบาล อย่างไรก็ตามโรงพยาบาลก็ต้องมีมาตรการใน
การดูแลความปลอดภัยของทรัพย์สินของผู้ป่วยระดับหนึ่ง เช่น มีการปิดป้ าย
ค าเตือน หรือ การให้มีเสียงตามสายแจ้งเตือน รวมทั้งการมีระบบความปลอดภัย
ในโรงพยาบาลมีเจ้าหน้าที่ดูแลทั่วไป ก็น่าจะถือว่า มีการระมัดระวังอย่างเพียงพอแล้ว
หากมีทรัพย์สินของผู้ป่วยสูญหายไม่ถือเป็นความผิดของโรงพยาบาล
ข้อ ๑๘ ในการให้ยาที่เป็นอันตรายต่อชีวิตของผู้ป่วย จ าเป็นต้องมีแพทย์
อยู่ดูแลอย่างใกล้ชิด แต่ถ้าไม่มีแพทย์อยู่ เมื่อเกิดอันตรายต่อผู้ป่วย เช่น หัวใจ
หยุดเต้น ถ้ามีแต่พยาบาลดูแลผู้ป่วย จะถือว่าประมาทหรือไม่
กรณีมีการรักษาพยาบาลหรือประกอบวิชาชีพทางการแพทย์ที่มีความ
เสี่ยงสูงที่จะเกิดผลข้างเคียงหรืออันตรายแก่ผู้ป่วย ผู้ประกอบวิชาชีพจะต้องมี
มาตรการในการป้ องกันหรือการเตรียมการช่วยเหลือแก้ไขในกรณีเกิดเหตุ
ฉุกเฉินอย่างพร้อมเพรียง มิฉะนั้นถือว่าเป็นการกระท าโดยประมาท การให้ยา
ที่เป็นอันตรายต่อชีวิตผู้ป่วย แพทย์จ าเป็นต้องอยู่ดูแลอย่างใกล้ชิดจนกว่าจะเห็น
ว่า ผู้ป่วยมีความปลอดภัยจากการใช้ยาดังกล่าว การที่แพทย์ให้ยาแล้วไม่อยู่ดู
อาการผู้ป่วย ปล่อยให้พยาบาลดูแลผู้ป่วย หากเกิดเหตุไม่คาดหมายหรือเหตุ
ไม่พึงประสงค์และเกิดความเสียหายขึ้น ถือว่าแพทย์ผู้นั้นกระท าการโดยประมาท
อาจมีความผิด ส่วนพยาบาลหากมีเหตุการณ์ผิดปกติเกิดขึ้นต้องรีบตามแพทย์
โดยในระหว่างนั้นต้องพยายามช่วยเหลือผู้ป่วยตามหลักวิชาชีพอย่างเต็มที่ หาก
ถาม-ตอบ สารพันปัญหาข้อกฎหมาย การบริการทางการแพทย์ ๑๔