Page 15 - ถาม - ตอบ สารพันปัญหาข้อกฎหมายการบริการทางการแพทย์
P. 15
รายงานอาการผู้ป่วยตามความเป็นจริง และต้องบันทึกการรายงานไว้ในเวช
ระเบียนหรือบันทึกการพยาบาลอย่างละเอียด หากแพทย์ไม่มาตรวจหรือสั่ง
การรักษาอย่างไรพยาบาลต้องบันทึกไว้เสมอ เมื่อมีเหตุเกิดขึ้นมีความเสียหาย
บันทึกการพยาบาลดังกล่าวจะเป็นหลักฐานแสดงว่า พยาบาลได้ปฏิบัติหน้าที่
ถูกต้องตามมาตรฐานวิชาชีพแล้ว ไม่มีความผิด ส าหรับแพทย์เมื่อได้รับรายงาน
จากพยาบาลแล้ว หากไม่มาดูหรือมาตรวจผู้ป่วย ถ้าไม่มีเหตุผลหรือเหตุผล
ฟังไม่ขึ้น แล้วเกิดความเสียหาย แพทย์ต้องรับผิดชอบ
ข้อ ๕ ถ้าเป็นทันตแพทย์ที่ท าคลินิกส่วนตัวไม่ได้รับราชการ พระราชบัญญัติ
ความรับผิดทางละเมิดของเจ้าหน้าที่ พ.ศ. ๒๕๓๙ จะคุ้มครองหรือไม่
ตามพระราชบัญญัติความรับผิดทางละเมิดของเจ้าหน้าที่ พ.ศ. ๒๕๓๙
มาตรา ๔ บัญญัติว่า “เจ้าหน้าที่ หมายความว่า ข้าราชการ พนักงาน ลูกจ้างหรือ
ผู้ปฏิบัติงานประเภทอื่นไม่ว่าจะเป็นกรรมการหรือในฐานะอื่น”
มาตรา ๕ บัญญัติว่า “ หน่วยงานของรัฐต้องรับผิดต่อผู้เสียหายในผลแห่ง
ละเมิดของเจ้าหน้าที่ของตนกระท าในการปฏิบัติหน้าที่ ในกรณีนี้ผู้เสียหายอาจ
ฟ ้องหน่วยงานของรัฐดังกล่าวได้โดยตรงแต่จะฟ้องเจ้าหน้าที่ไม่ได้
พระราชบัญญัติดังกล่าวจะคุ้มครองเฉพาะเจ้าหน้าที่ผู้ปฏิบัติงานในหน้าที่
ราชการเท่านั้น ดังนั้นทันตแพทย์ที่ท าคลินิกไม่ได้รับราชการจะไม่ได้รับความ
คุ้มครอง
ข้อ ๖ ในกรณีที่ผู้ป่วยเสียชีวิตหลังจากรับการรักษา ญาติต้องการทราบ
สาเหตุการเสียชีวิต แพทย์ไม่บอก แพทย์ปฏิบัติเช่นนี้ถูกต้องหรือไม่ (กรณีที่
ญาติเป็นบุตร บิดา มารดา)
สาเหตุการเสียชีวิตอาจมีผลเกี่ยวพันกับเรื่องอื่น ๆ เช่น การประกันชีวิต
เป็นต้น ดังนั้นเมื่อญาติโดยเฉพาะบุตร บิดามารดา หรือสามีภรรยาผู้ตาย
ถาม-ตอบ สารพันปัญหาข้อกฎหมาย การบริการทางการแพทย์ ๗