Page 17 - ถาม - ตอบ สารพันปัญหาข้อกฎหมายการบริการทางการแพทย์
P. 17

ตามมาตรา ๘ วรรคท้ายแห่งพระราชบัญญัติสุขภาพแห่งชาติ  พ.ศ.  ๒๕๕๐

          บัญญัติว่า "ความในวรรคหนึ่งมิให้ใช้บังคับกรณีดังต่อไปนี้

                 (๑)   ผู้รับบริการอยู่ในภาวะเสี่ยงอันตรายถึงแก่ชีวิต และมีความจ าเป็น

          ต้องให้ความช่วยเหลือเป็นการรีบด่วน
                 (๒)  ผู้รับบริการไม่อยู่ในฐานะที่จะรับทราบข้อมูลและไม่อาจแจ้งให้

          บุคคลซึ่งเป็นทายาทโดยธรรม ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์  ผู้ปกครอง

          ผู้ปกครองดูแล ผู้พิทักษ์หรือผู้อนุบาลของผู้รับบริการ  แล้วแต่กรณี  รับทราบ
          ข้อมูลแทนในขณะนั้นได้"

               ตามบทบัญญัติดังกล่าวหมายถึงกรณีที่ไม่ต้องแจ้งข้อมูลให้ผู้ป่วยทราบ

          หากผู้ป่วยจ าเป็นต้องใส่เครื่องช่วยหายใจ  แต่ญาติขอตัดสินใจ  ระหว่างนั้นหาก
          อาการผู้ป่วยอยู่ในภาวะเสี่ยงอันตรายถึงแก่ชีวิต และจ าเป็นต้องใส่เครื่องช่วย

          หายใจ ถือได้ว่าเป็นสถานการณ์ตาม (๑) จึงต้องช่วยเหลือผู้ป่วยก่อน  แพทย์ต้อง

          ใส่เครื่องช่วยหายใจเพื่อช่วยผู้ป่วยไปก่อนจนกว่าผู้มีสิทธิตัดสินใจ เรื่องการรักษา
          พยาบาล คือ บุตร บิดา มารดา หรือสามีภรรยาที่ชอบด้วยกฎหมายจะตกลงใจจะ

          รับการรักษาหรือไม่

               ข้อ ๑๐ ผู้ป่วยไปแจ้งความกับต ารวจว่า ถูกท าร้าย แต่มาแจ้งที่โรงพยาบาล

          ว่า มอเตอร์ไซด์ล้ม  แพทย์ไม่สามารถจะเขียนใบคดีได้  แต่ต ารวจต้องการใบคดี
          เพื่อไปสั่งปรับ  ผู้ปฏิบัติจะต้องท าอย่างไร

               กรณีนี้ผู้ป่วยให้ข้อมูลไม่ตรงกัน  แพทย์ไม่ได้เป็นผู้อยู่ในเหตุการณ์ขณะ

          เกิดเหตุจึงไม่อาจทราบได้ว่าข้อเท็จจริงเป็นอย่างไร  แพทย์ควรเขียนลักษณะ

          อาการ  บาดแผล การรักษาพยาบาลตามความเป็นจริง  ส่วนสาเหตุของการบาดเจ็บ
          ควรระบุว่า ไม่ทราบสาเหตุแต่ผู้ป่วยบอกว่าเกิดจากอุบัติเหตุ  (หากมั่นใจว่าเกิด

          จากอุบัติเหตุก็ระบุไปได้)


                  ถาม-ตอบ สารพันปัญหาข้อกฎหมาย การบริการทางการแพทย์  ๙
   12   13   14   15   16   17   18   19   20   21   22