Page 77 - ถาม - ตอบ สารพันปัญหาข้อกฎหมายการบริการทางการแพทย์
P. 77

ข้อ ๘๔  กรณีผู้ป่วยประสบอุบัติเหตุ หมดสติ  ต้องได้รับการผ่าตัด ท า

          หัตถการต่างๆ ไม่มีผู้เซ็นยินยอมท าการรักษา  เป็นเหตุให้ผู้อื่นเสียชีวิต ญาติ

          ฟ้องร้องได้หรือไม่

                 กรณีดังกล่าวถือได้ว่า เป็นกรณีฉุกเฉินที่จะต้องด าเนินการช่วยเหลือ
          ผู้ป่วยโดยเร็ว และไม่สามารถหาผู้ให้ความยินยอมได้  ตามมาตรา ๘ วรรค ๒ (๑)

          แห่งพระราชบัญญัติสุขภาพแห่งชาติ  พ.ศ.  ๒๕๕๐ ไม่จ าเป็นที่แพทย์หรือ

          เจ้าหน้าที่ต้องแจ้งให้ทราบข้อมูลการรักษาพยาบาลเพื่อให้ผู้ป่วยตัดสินใจก่อน
          แต่โดยหน้าที่และจริยธรรมทางการแพทย์จะต้องท าการช่วยเหลือผู้ป่วยโดยเร็ว

          ด้วยวิธีการใด ๆ ตามหลักวิชาชีพซึ่งแพทย์สามารถกระท าได้ทั้งสิ้น แม้ว่าใน

          ที่สุดแล้วจะไม่สามารถช่วยชีวิตผู้ป่ วยไว้ได้ก็ตาม  แพทย์และเจ้าหน้าที่ไม่มี
          ความผิด  อย่างไรก็ตามในเรื่องความฉุกเฉินและการไม่มีผู้ให้ความยินยอม

          จะต้องมีการบันทึกไว้ในเวชระเบียนผู้ป่วยด้วยเพื่อเป็นหลักฐานยืนยัน สภาพการณ์

          ในขณะนั้น ญาติผู้ป่วยมีสิทธิฟ้ องร้องได้ตามกฎหมาย แต่แพทย์หรือเจ้าหน้าที่
          จะไม่มีความผิด  แต่กรณีฉุกเฉินดังกล่าวและไม่มีผู้ให้ความยินยอม  แพทย์หรือ

          เจ้าหน้าที่ไม่ยอมด าเนินการใด ๆเพื่อช่วยชีวิตผู้ป่วย ก็อาจมีความผิดทั้งทางแพ่ง

          ทางอาญาและจริยธรรม (ละทิ้งผู้ป่วย)

               ข้อ ๘๕  ในการพิจารณาคดีทางการแพทย์ ศาลจะดูอย่างไรว่าแพทย์ พยาบาล
          ท าผิดหรือไม่

               จากการศึกษาค าพิพากษาคดีทางการแพทย์  พบว่า ศาลใช้หลักในการ

          พิจารณาดังนี้
               (๑)  ผู้กระท าการเป็นผู้ประกอบวิชาชีพที่ได้รับใบอนุญาตจากสภาวิชาชีพ

          ตามกฎหมายหรือไม่





                  ถาม-ตอบ สารพันปัญหาข้อกฎหมาย การบริการทางการแพทย์  ๖๙
   72   73   74   75   76   77   78   79   80   81