Page 76 - ถาม - ตอบ สารพันปัญหาข้อกฎหมายการบริการทางการแพทย์
P. 76
ฉีดยา เมื่อแพทย์หรือเจ้าหน้าที่ได้แจ้งข้อมูลต่างๆ และแนวทางการรักษาและ
แจ้งด้วยว่าจะท าการต่างๆ ดังกล่าว เพื่อการรักษาพยาบาล ถ้าผู้ป่วยยินยอมให้ท า
โดยไม่ขัดขืน ก็ถือได้ว่าผู้ป่วยให้ความยินยอมแล้ว มีผลทางกฎหมายทุกประการ
ข้อ ๘๓ การที่ผู้ป่ วยไปฟ้ องแพทยสภา แตกต่างจากการฟ้ องที่ศาล
อย่างไร
แพทยสภาเป็นองค์กรวิชาชีพ ตามพระราชบัญญัติวิชาชีพเวชกรรม
พ.ศ.๒๕๒๕ มีอ านาจหน้าที่ในการควบคุมความประพฤติของผู้ประกอบวิชาชีพ
เวชกรรมให้เป็นไปตามจริยธรรมของผู้ประกอบวิชาชีพเวชกรรม หากมีผู้ฝ่าฝืน
ก็มีโทษทางจริยธรรมคือ ตักเตือน ภาคทัณฑ์ พักใช้ใบอนุญาตและเพิกถอน
ใบอนุญาต ซึ่งการลงโทษจะมีผลกระทบต่อการประกอบวิชาชีพของผู้ถูกลงโทษ
ส่วนศาลมีอ านาจหน้าที่ในการดูแลให้เกิดความยุติธรรมในสังคมตามตัวบท
กฎหมาย ซึ่งมีหลายส่วน แต่ที่เป็นหลักที่เกี่ยวข้องกับทุกๆ คนคือ กฎหมายแพ่ง
และพาณิชย์และกฎหมายอาญา โดยกฎหมายทางแพ่งเป็นการให้ความยุติธรรม
โดยการให้ชดใช้ค่าเสียหาย ทรัพย์สิน ทดแทนสิ่งที่ควรจะได้หรือที่เสียไปเพราะ
การกระท าของบุคคลที่กฎหมายบัญญัติไว้ ส่วนกฎหมายอาญาเป็นการควบคุม
ก ากับ ดูแลความสงบเรียบร้อยของบ้านเมือง มีการลงโทษผู้กระท าความผิดที่
กฎหมายบัญญัติคือ ประหารชีวิต จ าคุก กักขัง ปรับ และริบทรัพย์สิน
ดังนั้นการที่ผู้ป่วยไปฟ้ องแพทยสภาก็เพื่อให้แพทยสภาตรวจสอบการ
กระท าของแพทย์ (ผู้ประกอบวิชาชีพเวชกรรม) ว่ากระท าการรักษาพยาบาลตาม
มาตรฐานวิชาชีพหรือไม่ มีพฤติกรรมผิดจริยธรรมทางการแพทย์หรือไม่ หากมี
ความผิดก็ต้องลงโทษ ส่วนการฟ้ องศาลทางแพ่ง เพื่อให้แพทย์หรือผู้เกี่ยวข้อง
ชดใช้ค่าเสียหายจากการรักษาพยาบาลที่ไม่เป็นไปตามมาตรฐานวิชาชีพ ส่วน
ฟ้ องศาลอาญาเพื่อให้ศาลพิจารณาลงโทษแพทย์หรือผู้เกี่ยวข้องให้หลาบจ า
ไม่ท าผิดอีก และเป็นตัวอย่างให้บุคคลอื่นพึงสังวรไว้
ถาม-ตอบ สารพันปัญหาข้อกฎหมาย การบริการทางการแพทย์ ๖๘