Page 72 - ถาม - ตอบ สารพันปัญหาข้อกฎหมายการบริการทางการแพทย์
P. 72
แห่งพระราชบัญญัติสุขภาพแห่งชาติ พ.ศ.๒๕๕๐ แพทย์สามารถไม่ท าการรักษา
ต่อไปได้ แต่ต้องบันทึกเหตุผลไว้ในเวชระเบียนหรือเอกสารที่เกี่ยวข้องไว้เป็น
หลักฐาน และให้ผู้ป่วยเซ็นหนังสือไม่ยินยอมให้ตรวจ และไม่ยินยอมรับการ
รักษาด้วย หากผู้ป่ วยไม่ยอมเซ็น ให้บันทึกไว้ในหนังสือไม่ยินยอมว่าผู้ป่ วย
ได้รับทราบข้อมูลและแสดงเจตนาไม่ยินยอมให้ตรวจ แต่ไม่ยินยอมลงลายมือ
ชื่อ หลังจากนั้นแพทย์และพยาบาลก็ลงลายมือชื่อไว้ด้วย
ข้อ ๗๔ กรณีผู้ป่วยหรือญาติเซ็น ไม่ยินยอมใส่เครื่องช่วยหายใจหรือ
ปั๊มหัวใจไว้เป็นหลักฐานโดยมีบุตรเซ็นจนครบ สามารถปฏิบัติได้หรือไม่ มีผล
ทางกฎหมายอย่างไร
ตามพระราชบัญญัติสุขภาพแห่งชาติ พ.ศ.๒๕๕๐ มาตรา ๑๒ ได้บัญญัติ
รับรองการแสดงเจตนาไม่ยอมรับบริการรักษาพยาบาลไว้แล้ว หากผู้ป่วยประสงค์
จะไม่ให้ด าเนินการใส่เครื่องช่วยหายใจหรือปั๊มหัวใจ ก็ถือว่ามีผลทางกฎหมายได้
หากเป็นไปตามเงื่อนไขในกฎกระทรวงก าหนดไว้ นอกจากนี้หลักการตาม
มาตรา ๘ ก็บัญญัติถึงสิทธิของผู้ป่วยที่จะ ไม่ยอมรับบริการด้านสาธารณสุขได้
อยู่แล้ว ดังนั้น หากแพทย์ด าเนินการตามความประสงค์ของผู้ป่วย แพทย์ย่อมไม่
ต้องรับผิดตามมาตรา ๑๒ ดังกล่าวแล้ว
ข้อ ๗๕ กรณีผู้ป่วยมีเจตนาฆ่าตัวตาย ไม่ยินยอมรับการรักษา โรงพยาบาล
ต้องท าการรักษาหรือไม่
เมื่อแพทย์ให้ข้อมูลต่างๆ แล้ว หากผู้ป่วยไม่ยินยอมรับการรักษา แพทย์
ก็ไม่ต้องท าการรักษาได้ตามมาตรา ๘ แห่งพระราชบัญญัติสุขภาพแห่งชาติ
พ.ศ.๒๕๕๐ แต่ต้องให้ผู้ป่วยเซ็นใบไม่ยินยอมรับการรักษา และให้มีการบันทึก
ไว้ในเวชระเบียนด้วย
ถาม-ตอบ สารพันปัญหาข้อกฎหมาย การบริการทางการแพทย์ ๖๔