Page 29 - ถาม - ตอบ สารพันปัญหาข้อกฎหมายการบริการทางการแพทย์
P. 29
“มาตรา ๖๙ ในกรณีที่บัญญัติไว้ในมาตรา ๖๗ และมาตรา ๖๘ นั้น ถ้า
ผู้กระท าได้กระท าไปเกินสมควรแก่เหตุหรือเกินกว่ากรณีแห่งความจ าเป็นหรือ
เกินกว่ากรณีแห่งการจ าต้องกระท าเพื่อป้ องกัน ศาลจะลงโทษน้อยกว่าที่กฎหมาย
ก าหนดไว้ส าหรับความผิดนั้นเพียงใดก็ได้ แต่ถ้าการกระท านั้นเกิดจากความ
ตื่นเต้น ความตกใจหรือความกลัว ศาลจะไม่ลงโทษผู้กระท าก็ได้”
จะเห็นว่า กฎหมายให้ความคุ้มครองแก่ผู้ที่ถูกละเมิดสิทธิว่า สามารถ
กระท าการใดๆ เพื่อป้ องกันตนเองได้ แต่ต้องเป็นการพอสมควรแก่เหตุ ซึ่งต้อง
ดูพฤติการณ์เป็นกรณีไป ดังนั้น พยาบาลสามารถกระท าการป้ องกันตนเองได้
หากผู้ป่วยที่มาท าร้ายต้องเสียชีวิตลง พยาบาลก็ไม่ต้องรับผิด หากเป็นการกระท า
การป้ องกันตัวนี้สมควรแก่เหตุ
ข้อ ๒๕ กรณีผู้ป่วยนอนโรงพยาบาลและขอกลับบ้านชั่วคราวจะท าได้
หรือไม่ และเมื่อเกิดอันตรายกับผู้ป่วยใครต้องรับผิดชอบ มีแนวทางแก้ไขอย่างไร
การรักษาพยาบาลผู้ป่ วยอยู่ในการควบคุมดูแลของแพทย์เจ้าของไข้
การจะอนุญาตให้ผู้ป่วยกลับบ้านได้หรือไม่ อยู่ในดุลยพินิจของแพทย์นั้น หาก
แพทย์เห็นว่าอาการป่วยของผู้ป่วยดีขึ้นอยู่ในขั้นปลอดภัย และสามารถกลับไป
รักษาดูแลตนเองที่บ้านได้ ปกติแพทย์ก็จะอนุญาต ซึ่งปกติกรณีเช่นนี้ถือเป็น
การจ าหน่ายผู้ป่วยออกจากการเป็นผู้ป่วยใน ส่วนกรณีผู้ป่วยนอนโรงพยาบาล
และขอกลับบ้านชั่วคราว หากเป็นกรณีผู้ป่วยยังไม่หายดีพอที่จะจ าหน่ายออกไป
การอนุญาตให้กลับบ้านชั่วคราวเป็นความเสี่ยงอย่างยิ่ง ทั้งในด้านจริยธรรมของ
แพทย์และในด้านกฎหมาย เพราะถ้าแพทย์ยังให้เป็นผู้ป่วยในอยู่แสดงว่า ผู้ป่วย
ยังคงจ าเป็นต้องได้รับการดูแลรักษาพยาบาลจากแพทย์ พยาบาลอยู่ การอนุญาต
ให้กลับไปบ้านชั่วคราวโดยยังคงเป็นผู้ป่วยในอยู่ น่าจะไม่ถูกต้องตามมาตรฐาน
ถาม-ตอบ สารพันปัญหาข้อกฎหมาย การบริการทางการแพทย์ ๒๑