Page 6 - แนวทางการพัฒนาระบบสุขภาพ (Service Plan)
P. 6

คำ�น�



                        รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย ปี พ.ศ.2560 มาตรา 258 ช. (5) ระบุไว้ว่า “ให้มีระบบการแพทย์

                  ปฐมภูมิที่มีแพทย์เวชศาสตร์ครอบครัวดูแลประชาชนในสัดส่วนที่เหมาะสม” และเป็นที่มาของนโยบายของ
                  กระทรวงสาธารณสุขในการพัฒนา “คลินิกหมอครอบครัว” หรือ “หน่วยบริการสุขภาพปฐมภูมิ” (Primary
                  Care Unit: PCU) เพื่อเป็นหน่วยบริการสุขภาพที่มีแพทย์เฉพาะทางด้านเวชศาสตร์ครอบครัวและ
                  ทีมสหวิชาชีพดูแลประชาชน 10,000 คนต่อหนึ่งทีม โดยตั้งเป้าหมายในการพัฒนาให้มีคลินิกหมอครอบครัว

                  เพื่อให้การดูแลสุขภาพแก่คนไทยทุกคนทั่วประเทศภายใน 10 ปี เพื่อสนันสนุนระบบหลักประกันสุขภาพ
                  ถ้วนหน้าและเป็นการเพิ่มความเป็นธรรมด้านสุขภาพภายในระบบสุขภาพของประเทศไทย เริ่มต้นด�าเนินการ
                  พัฒนารูปแบบคลินิกหมอครอบครัวภายใต้แผนปฏิรูประบบสาธารณสุขโดยด�าเนินการในลักษณะของโครงการ
                  วิจัยเพื่อน�านโยบายไปสู่การปฏิบัติ (implementation research) ในพื้นที่ระดับอ�าเภอรวม 50 พื้นที่ทั่วประเทศ

                  ในปีงบประมาณ 2562 เป็นการปฏิรูประบบบริการสุขภาพควบคู่ไปกับการปฏิรูประบบการคลังสุขภาพ และ
                  มีเป้าหมายส�าคัญ 3 ด้านหรือ “Triple Aim” ได้แก่ การพัฒนาสถานะสุขภาพของประชากรกลุ่มเป้าหมาย
                  การพัฒนาคุณภาพและประสบการณ์ที่ผู้ป่วยได้รับในกระบวนการดูแลสุขภาพ และการลดต้นทุนของการ
                  จัดบริการสุขภาพต่อหัวประชากร

                        แนวทางการพัฒนาระบบสุขภาพปฐมภูมิแบบบูรณาการโดยมีประชาชนเป็นศูนย์กลางฉบับนี้ น�าเสนอ
                  กรณีศึกษาการพัฒนาคลินิกหมอครอบครัวในประเทศไทยเพื่อจัดบริการสุขภาพปฐมภูมิแบบบูรณาการโดย

                  มีผู้ป่วยเป็นศูนย์กลางส�าหรับการดูแลรักษาผู้ป่วยโรคเบาหวานและโรคความดันโลหิตสูง เนื่องจากเป็นกลุ่ม
                  ผู้ป่วยซึ่งมีความต้องการด้านสุขภาพที่หลากหลายและแตกต่างกันตามสถานะสุขภาพและความรุนแรงของ
                  โรค และมีความจ�าเป็นที่ทีมคลินิกหมอครอบครัวต้องท�าหน้าที่บูรณาการและเชื่อมโยงการดูแลสุขภาพของ

                  ประชาชนอย่างต่อเนื่องจนครบวงจรความเจ็บป่วย มีการน�าเสนอการทบทวนองค์ความรู้และทฤษฎีที่เกี่ยวข้อง
                  ให้เอื้อต่อการน�าไปศึกษาและพัฒนาต่อยอด ได้แก่ แนวคิดเวชศาสตร์ครอบครัวและเวชปฏิบัติปฐมภูมิ แนวคิด
                  ต้นแบบการดูแลรักษาโรคเรื้อรัง แนวคิดระบบบริบาลสุขภาพไร้รอยต่อ แนวคิดการจัดระบบบริบาลสุขภาพ
                  แบบบูรณาการ แนวคิดการบริบาลสุขภาพแบบเน้นคุณค่า และแนวคิดบริการสุขภาพแบบบูรณาการโดยมี
                  ประชาชนเป็นศูนย์กลางขององค์การอนามัยโลก และได้ประมวลประสบการณ์ของผู้ปฏิบัติงานในพื้นที่วิจัย

                  เพื่อสังเคราะห์ออกมาเป็นคู่มือฉบับปฏิบัติการ ครอบคลุมขั้นตอนการออกแบบกระบวนการในคลินิกหมอ
                  ครอบครัวเพื่อจัดบริการสุขภาพปฐมภูมิแบบบูรณาการโดยมีผู้ป่วยเป็นศูนย์กลาง และเครื่องมือการจัดการ
                  เชิงระบบส�าหรับการพัฒนากระบวนการหลักของคลินิกหมอครอบครัว โดยมุ่งหวังให้ผู้ปฏิบัติงานสามารถ

                  น�าเครื่องมือการจัดการเชิงระบบมาประยุกต์ใช้ให้เกิดเป็นระบบบริการสุขภาพที่สามารถส่งมอบคุณค่ากับ
                  ผู้รับบริการสุขภาพโดยเลือกวิธีการให้เหมาะสมกับการแก้ไขปัญหาสุขภาพของประชาชนให้มากที่สุด
                  เกิดเป็นบริการสุขภาพเฉพาะบุคคล เปิดโอกาสให้ประชาชนมีส่วนร่วมในการดูแลสุขภาพของตนเอง
                  และลดกระบวนการที่ไม่จ�าเป็นเพื่อลดภาระงานให้กับทีมดูแลสุขภาพ






                                                                                                 ข
   1   2   3   4   5   6   7   8   9   10   11