- หมายถึง โอกาสที่จะประสบกับความสูญเสีย หรือสิ่งไม่พึงประสงค์ โอกาสความน่าจะเป็นที่จะเกิดอุบัติการณ์
- หมายถึง เหตุการณ์ที่เกิดขึ้น ซึ่งอาจทำให้เกิดอันตรายต่อร่างกาย,จิตใจ,ชื่อเสียง,ทรัพย์สิน สิ่งแวดล้อม ก่อให้เกิดความไม่พึงพอใจ คำร้องเรียนหรือการฟ้องร้อง
อุบัติการณ์ที่เกิดกับผู้ป่วยรายแรก คือ ความเสี่ยงที่จะเกิดอันตรายกับผู้ป่วยรายอื่น ๆ
- คือ อุบัติการณ์ที่ก่อให้เกิดอันตรายต่อผู้ป่วย ครอบคลุมถึงการเกิดโรค ภาวะแทรกซ้อน การบาดเจ็บ ความทุกข์ทรมาน ความพิการ และการเสียชีวิต
และอาจจะเป็นอันตรายทางด้านสังคม หรือจิตใจ
- คือ ความเสี่ยงที่เฝ้าระวังเป็นพิเศษหรือเหตุการณ์ไม่พึงประสงค์ที่ก่อให้เกิดการเสียชีวิตหรืออันตรายขั้นรุนแรง ที่ต้องตื่นตัว ใส่ใจ ให้ความสำคัญสูง
- คือ การกระทำหรือละเว้นการกระทำซึ่งอาจส่งผลให้เกิดอันตรายต่อผู้ป่วย แต่ไม่เกิดอันตรายเนื่องจากความบังเอิญ การป้องกัน หรือการทำให้ปัญหาทุเลาลง
- คือคุณลักษณะขององค์กรในด้านความปลอดภัยดังนี้
(1) การรับรู้ถึงธรรมชาติขององค์กรที่มีความเสี่ยงสูง มีโอกาสเกิดความผิดพลั้ง
(2) ลักษณะองค์กรที่ไม่มีการตำหนิกัน บุคลากรสามารถรายงานความผิดพลั้ง โดยไม่ต้องหวาดกลัวว่าจะถูกลงโทษ
(3) มีความร่วมมือกันอย่างกว้างขวางเพื่อป้องกันความเสี่ยงต่าง ๆ
(4) ความเต็มใจขององค์กรที่จะสนับสนุนทรัพยากรเพื่อความปลอดภัย
ระดับความรุนแรงของการเกิดอุบัติการณ์ แบ่งเป็น 9 ระดับ ดังนี้
- ไม่มีความคลาดเคลื่อน แต่มีโอกาสที่จะก่อให้เกิดความคลาดเคลื่อน
- เกิดความคลาดเคลื่อนขึ้น แต่ไม่เป็นอันตราย/ไม่ส่งผลเสียหายเนื่องจากความคลาดเคลื่อนยังไม่ถึงผู้มารับบริการ เครื่องมือ อุปกรณ์ กระบวนการทำงาน และองค์กร
- เกิดความคลาดเคลื่อน แต่ไม่เป็นอันตราย/ไม่ส่งผลเสียหายถึงแม้ว่าความคลาดเคลื่อนนั้นจะไปถึงผู้รับบริการ เครื่องมือ อุปกรณ์ กระบวนการทำงาน และองค์กรแล้ว และองค์กร
- เกิดความคลาดเคลื่อน แต่ไม่เป็นอันตราย/ไม่ส่งผลเสียหาย แต่ต้องมีการเฝ้าระวังเพื่อให้มั่นใจว่าไม่เป็นอันตราย/ไม่ส่งผลเสียหายต่อผู้รับบริการ เครื่องมือ อุปกรณ์ กระบวนการทำงาน และองค์กร
- เกิดความคลาดเคลื่อน ส่งผลให้เกิดอันตรายชั่วคราวต่อผู้รับบริการ เครื่องมือ อุปกรณ์ กระบวนการทำงานและองค์กร ต้อง ได้รับการรักษา/แก้ไขเพิ่มเติม
- เกิดความคลาดเคลื่อน เกิดอันตรายชั่วคราวต่อผู้รับบริการ เครื่องมือ อุปกรณ์ กระบวนการทำงาน ต้องนอนโรงพยาบาลนานขึ้น ใช้เวลาแก้ไขนานขึ้น
- เกิดความคลาดเคลื่อน เกิดอันตรายถาวรต่อผู้รับบริการ เครื่องมือ อุปกรณ์ กระบวนการทำงาน และองค์กร
- เกิดความคลาดเคลื่อน เกิดอันตรายเกือบถึงชีวิตต่อผู้รับบริการ ต้องทำการช่วยชีวิต เกิดความเสียหายต่อผู้รับบริการ เครื่องมือ อุปกรณ์ กระบวนการทำงาน และองค์กรต้องมีการแก้ไขอย่างเร่งด่วน (CPR)
- เกิดความคลาดเคลื่อน เกิดอันตรายจนถึงชีวิตต่อผู้รับบริการ เกิดความเสียหายจนแก้ไขไม่ได้ ต่อผู้รับบริการ เครื่องมือ อุปกรณ์ กระบวนการทำงานและทำให้เสื่อมเสียชื่อเสียง ถูกฟ้องร้องทางสื่อ ทางกฎหมาย
1. เรียนรู้จากบทเรียนของผู้อื่น เช่น รายงานจากสื่อมวลชน การพูดคุยกับผู้เชี่ยวชาญ การเรียนรู้จากโรงพยาบาลอื่น
2. ทบทวนความรู้ทางวิชาการ เช่น การทบทวนวรรณกรรม (รวมทั้ง patient safety guide :SIMPLE)
3. ทบทวนบทเรียนของเราเอง
• เหตุการณ์ที่เคยเกิดขึ้นแล้ว เช่น รายงานอุบัติการณ์ การทบทวนเวชระเบียน กิจกรรมทบทวนทางคลินิก ตัวชี้วัดต่าง ๆ บันทึกต่าง ๆ
• เหตุการณ์ที่ยังไม่เคยเกิดขึ้น เช่น การวิเคราะห์กระบวนการ, การตามรอยทางคลินิก, การสำรวจในสถานที่จริง, การตามรอยกระบวนการ, การวิเคราะห์ FMEA (โอกาสที่จะเกิดปัญหาขึ้นในอนาคตในระบบงานใหม่ เครื่องมือใหม่ สถานที่ปฏิบัติงาน โดยตั้งคำถาม”จะเป็นอย่างไรถ้า.....”)
• ค้นหาจากประสบการณ์ของบุคคล
รายการความเสี่ยงที่ค้นหาได้ อาจรวบรวมไว้ในบัญชีรายการความเสี่ยงของหน่วยงานหรือตารางเก็บข้อมูลเพื่อนำมาวิเคราะห์ความสำคัญของความเสี่ยง
อาจจัดหมวดหมู่ของความเสี่ยงเพื่อจะได้ค้นหาได้ครอบคลุม เช่น ด้านอันตรายต่อผู้ป่วย ด้านอันตรายต่อเจ้าหน้าที่ ด้านสิ่งแวดล้อม ด้านข้อมูลข่าวสาร
การจัดการความเสี่ยงก่อนเกิดเหตุ
โดยรายการความเสี่ยงที่มีระดับความสำคัญสูง และปานกลาง ต้องมีแผนการจัดการความเสี่ยง ทุกรายการ
1) หลีกเลี่ยงความเสี่ยง
2) ถ่ายโอนความเสี่ยง
3) การแบ่งแยกความเสี่ยง
4) การป้องกันความเสี่ยง
- การปกป้อง การใช้เครื่องป้องกัน
- การมีระบบบำรุงรักษาเชิงป้องกันและมาตรฐานเกี่ยวกับเครื่องมือ
- การมีระเบียบปฏิบัติและวิธีปฏิบัติในการทำงาน
- การควบคุมกำกับ
- การให้ความรู้ ทักษะแก่เจ้าหน้าที่
1) แนวทางป้องกัน การจัดระบบป้องกันความผิดพลาด
- การเตรียมคน
- การเตรียมอุปกรณ์เครื่องมือ
- การเตรียมข้อมูลข่าวสาร
- วิธีปฏิบัติงานที่รัดกุม
- การควบคุมกระบวนการ
2) แนวทางปฏิบัติเมื่อเกิดปัญหา
- การตรวจพบปัญหา จะตรวจพบปัญหาให้เร็วที่สุดได้อย่างไร โดยใคร เป็นการจัดการวิธีค้นหาความผิดพลาดเหล่านั้นให้ปรากฏเพื่อเราจะได้หยุดได้ทัน
- การลดความเสียหาย จะแก้ปัญหาอย่างไร โดยใคร เป็นการจัดระบบที่ลดความรุนแรงของความเสียหายเมื่อความผิดพลาดดังกล่าวไม่สามารถหยุดได้ทัน
- การรายงาน ควรรายงานให้ผู้บังคับบัญชาทราบถึงระดับใด วิธีใด
การจัดการความเสี่ยงเมื่อเกิดเหตุ
- เมื่อสถานการณ์ความเสี่ยงเกิดขึ้น ให้ผู้ประสบเหตุ เข้าระงับเหตุทันที ถ้าไม่สามารถระงับเหตุได้ แจ้งหัวหน้าหน่วยงานทันที เฉพาะเหตุที่เกี่ยวข้องกับความปลอดภัยในชีวิตและทรัพย์สิน ให้แจ้งเจ้าหน้าที่รักษาความปลอดภัยทันที
- กรณีหัวหน้าฝ่ายงาน ระงับเหตุไม่ได้ ให้รายงานแพทย์เวรหรือแพทย์เจ้าของไข้ พิจารณาสั่งการระงับเหตุทางการแพทย์ หรือให้รายงานหัวหน้าฝ่ายบริหารงานทั่วไป พิจารณาสั่งการระงับเหตุด้านอื่น ๆ
- ผู้ประสบเหตุ เป็นผู้เขียนบันทึกอุบัติการณ์ รายงานหัวหน้าหน่วยงานทราบภายใน 24 ชั่วโมง
- กรณีมีผู้ประสบเหตุหลายคน ให้ผู้ที่เป็นหัวหน้าเวร เป็นผู้เขียนบันทึก
- กรณีเป็นคำร้องเรียน ผู้รับคำร้องเรียนเป็นผู้เขียนบันทึกอุบัติการณ์
- กรณีเป็นเรื่องที่อาจเกิดการฟ้องร้องหรือเสื่อมเสียชื่อเสียงของโรงพยาบาลหรือบุคคล ให้รายงานด้วยใบบันทึกอุบัติการณ์และเก็บรักษาในที่ปลอดภัย
- กรณีเหตุการณ์รุนแรงระดับGHIขึ้นไปหรือเป็นเหตุการณ์ที่เฝ้าระวังเป็นพิเศษ ให้มีการรายงานด้วยวาจาก่อนทันทีที่ทำได้ กรณีอุบัติการณ์มีความรุนแรงสูง ให้รายงานผู้อำนวยการทันที
- อุบัติการณ์นี้เกิดขึ้นได้อย่างไรทั้งที่มีมาตรการป้องกันแล้ว
- อุบัติการณ์นี้มีสาเหตุจากระบบหรือไม่ มีโอกาสที่จะเกิดขึ้นอีกได้หรือไม่
- สาเหตุราก หรือ รากเหง้าของปัญหา คืออะไร
- การทบทวนว่ากลยุทธ์ที่ใช้อยู่นั้นได้ผลดีหรือไม่ โดยการติดตามแนวโน้มของการเกิดอุบัติการณ์ การเกิดซ้ำ ความรุนแรง ติดตามแผนการแก้ไขปรับปรุงตามสาเหตุราก และตรวจสอบว่า มาตรการที่ใช้ป้องกัน เหมาะสมหรือไม่
- ตรวจสอบความเสี่ยงที่เกิดขึ้นใหม่
- การประเมินผลเป็นการสะท้อนกลับ( feedback) ซึ่งจะก่อให้เกิดการปรับปรุงอย่างต่อเนื่อง หรือการแก้ไขกิจกรรมที่ดำเนินการไปแล้ว
- การหาสาเหตุราก
1. การจัดระบบป้องกันความผิดพลาด เช่นการใช้คอมพิวเตอร์ ระงับการจ่ายยาที่ผู้ป่วยมีประวัติแพ้ยา การใช้ CareMap ในการสั่งการรักษาโรคที่มีรายละเอียดมาก เป็นต้น
2. การจัดการวิธีค้นหาความผิดพลาดเหล่านั้นให้ปรากฏเพื่อเราจะได้หยุดได้ทัน เช่น การตรวจซ้ำในเรื่องชนิด และขนาดของยาอันตรายที่จะให้ผู้ป่วย การรายงานอุบัติการณ์ความผิดพลาดโดยยังไม่เกิดอันตรายกับผู้ป่วย การทบทวนการดูแลผู้ป่วย เป็นต้น
3. การจัดระบบที่ลดความรุนแรงของความเสียหายแม้ความผิดพลาดดังกล่าวไม่สามารถหยุดได้ทันจนทำให้เกิดอุบัติการณ์ที่ไม่พึงประสงค์ เช่น การเตรียม antidote ให้พร้อมใช้หากมีการใช้ยาอันตราย ผิดพลาด การเตรียมพร้อมเพื่อช่วยฟื้นคืนชีพผู้ป่วย เป็นต้น
1. การลดการพึงพาความจำ เช่น การใช้ checklist, protocol, CPG, CareMap ในขั้นตอนที่เสี่ยงสูง หรือผิดพลาดได้ง่าย
2. การใช้ข้อมูลที่สะดวก เช่น การออกแบบเวชระเบียนที่สะดวกต่อการหาข้อมูลจำเป็นของผู้ป่วย การรายงานอุบัติการณ์ที่ไม่ยุ่งยาก
3. ระบบความป้องกันความผิดพลาด เช่น มีระบบที่แจ้งเตือน หรือระบบห้ามสั่งยาที่ผู้ป่วยแพ้
4. การปรับให้ระบบงานเป็นมาตรฐานเดียวกัน เช่น การจัดทำวิธีปฏิบัติงาน
5. การฝึกอบรมให้บุคลากรมีความรู้อย่างเพียงพอในเรื่องที่จำเป็น เช่น การอบรมการบริหารความเสี่ยง การอบรมความรู้เรื่องโรคหรือหัตถการที่มีความเสี่ยงสูง
6. การทบทวนกระบวนการ เพื่อลดความซับซ้อน หรือขั้นตอน ทางเลือก เวลา
7. การลดความเสี่ยงหากมีความเปลี่ยนแปลงระบบ เช่น กำหนดข้อควรระวัง ทดลองปฏิบัติ ติดตามผลลัพธ์
8. การลดความเครียดในการทำงาน เช่น การจัดสิ่งแวดล้อมที่ช่วยลดความกังวล หรือเหนื่อยล้าเกินไป