Page 3 - คลินิกบริการกัญชาทางการแพทย์
P. 3
2
ค ำน ำ
เนื่องด้วยกระทรวงสาธารณสุข ได้ก าหนดให้มีการพัฒนาระบบบริการสุขภาพ สาขาการใช้กัญชา
ทางการแพทย์ (Medical Cannabis Service Plan) เพื่อเพิ่มโอกาสในการรักษาโรคให้กับประชาชนที่เจ็บป่วยทรมาน
จากกลุ่มโรคร้ายแรง เรื้อรังและไม่ตอบสนองต่อการรักษาทั้งแพทย์แผนปัจจุบันหรือแพทย์แผนไทยเท่าใดนักจนท าให้
ปัจจุบันมีผู้ป่วยดังกล่าวที่เพิ่มจ านวนมากขึ้นและครอบครัวได้รับความทุกข์ทรมานและรอรับบริการในสถานพยาบาล
ด้วยความหวังเชื่อมั่นในการแพทย์ของประเทศไทย ดังนั้นสารสกัดจากกัญชาทางการแพทย์ จึงเป็นหนึ่งในนวัตกรรม
ทางการแพทย์ที่สามารถช่วยบรรเทาอาการเจ็บป่วยทรมานแก่ผู้ป่วยได้ โดยกรมวิชาการ กระทรวงสาธารณสุข
มหาวิทยาลัยและแพทย์พื้นบ้านหรือแพทย์แผนไทยได้ร่วมกันพัฒนาท าการวิจัยด้วยเทคโนโลยีที่ทันสมัยและองค์ความรู้
แพทย์แผนไทยร่วมกันอย่างต่อเนื่องให้ได้ผลิตภัณฑ์และแนวทางการใช้สารสกัดกัญชาทางการแพทย์ เพื่อเป็น
การเสริมการรักษาของแพทย์แผนปัจจุบันหรือแพทย์แผนไทยที่มีอยู่ ซึ่งจักสามารถลดความแออัดการรอคอย
การรับบริการในโรงพยาบาลและสามารถเพิ่มคุณภาพชีวิตแก่ผู้ป่วยได้
รองนายกรัฐมนตรีและรัฐมนตรีว่าการกระทรวงสาธารณสุข นายอนุทิน ชาญวีรกุล มอบนโยบายเร่งด่วน
เพื่อให้มีการบริการการรักษาด้วยสารสกัดจากกัญชาทางการแพทย์แก่ประชาชนได้อย่างปลอดภัยรวดเร็วและครอบคลุม
กระทรวงสาธารณสุขจึงให้มีการเปิดบริการ คลินิกกัญชาทางการแพทย์ (Medical Cannabis Clinic)
แบบผสมผสำนแพทย์ปัจจุบันและแพทย์แผนไทยในสถานพยาบาลสังกัดส านักงานปลัดกระทรวงสาธารณสุข ให้เป็น
มาตรการเร่งด่วนโดยโรงพยาบาลน าร่องสังกัดกระทรวงสาธารณสุข 26 แห่งทั่วประเทศ ภายในปีงบประมาณ พ.ศ. 2562
ซึ่งแบ่งเป็น 2 กลุ่ม คือ กลุ่มที่ให้บริการแบบแพทย์แผนปัจจุบัน 13 แห่ง และการแพทย์ทางเลือกและแผนไทย 13 แห่ง
กระทรวงสาธารณสุขได้มีการเตรียมความพร้อมการให้บริการ โดยมอบหมายให้กรมวิชาการร่วมกันวิจัย
พัฒนาการรักษาโรคต่างๆด้วยสารสกัดจากกัญชา กรมการแพทย์และกรมการแพทย์แผนไทยและการแพทย์ทางเลือก
จัดท าหลักสูตรอบรมบุคลากรทางการแพทย์ให้ครอบคลุมทั่วประเทศ ส านักงานคณะกรรมการอาหารและยาจัดท า
ทะเบียนสถานบ ริการและพัฒ นาฐานข้อมูลรายงานการใช้ยา SAS (Special Access Scheme)
และกรมวิทยาศาสตร์การแพทย์ร่วมกับองค์การเภสัชกรรมด าเนินการกระจายผลิตภัณฑ์กัญชา ไปให้สถานบริการน าร่อง
รอบแรก ในวันที่ 19 สิงหาคม 2562 ครอบคลุมทั้ง 12 เขตสุขภาพ ซึ่งมีโรงพยาบาลหลายแห่งเริ่มให้บริการไปบ้างแล้ว เป็นต้น
กองบริหารการสาธารณสุข ส านักงานปลัดกระทรวงสาธารณสุข จึงบูรณาการองค์ความรู้จากทุกหน่วย
ที่เกี่ยวข้อง ในการจัดท าคู่มือ แนวทางการด าเนินการและพัฒนาโปรแกรม C-MOPH ซึ่งเป็นโปรแกรมอิเลคทรอนิคส์
ออนไลน์ ใช้ในการลงทะเบียน คัดกรอง ตรวจวินิจฉัย สั่งจ่ายและติดตามการรักษาซึ่งสามารถบันทึกควบคู่กับโปรแกรม
อื่นๆที่เกี่ยวข้องได้ร่วมกัน ไม่ซ้ าซ้อน โดยเจ้าหน้าที่สาธารณสุขสามารถให้บริการได้อย่างสะดวก รวดเร็วและสามารถ
น าข้อมูลมาประเมินผลการรักษา เฝ้าระวังความเสี่ยง และพัฒนาวิจัยการรักษาโรคหรือภาวะอื่นๆด้วยสารสกัด
จากกัญชาต่อไป
ส ำนักงำนปลัดกระทรวงสำธำรณสุข
ตุลำคม 2562