Page 9 - แนวทางการดูแลผู้ป่วยฉุกเฉินในสถานการณ์การระบาดของ COVID-19
P. 9

แนวทางการท�าหัตถการที่มีการแพร่กระจายแบบฝอยละออง

                                   (aerosol-generating procedures) ในห้องฉุกเฉิน



                     การท�าหัตถการที่ก่อให้เกิดฝอยละออง หรือ aerosol-generating procedures มีความเสี่ยงสูงต่อการแพร่
             กระจายของโรคติดเชื้อระบบทางเดินหายใจ  ส่งผลให้บุคลากรทางการแพทย์มีความเสี่ยงต่อการติดเชื้อเพิ่มมากขึ้น

             โดยเฉพาะกลุ่มเจ้าหน้าที่ผู้ปฏิบัติงานในห้องฉุกเฉิน  ซึ่งถือว่าเป็นด่านแรกที่สัมผัสกับผู้ป่วย  และยังเพิ่มความเสี่ยงให้
             กับผู้ที่เข้ามารับบริการในห้องฉุกเฉินอีกด้วย
                     aerosol-generating  procedures  ที่ส�าคัญภายในห้องฉุกเฉิน  ได้แก่  การกู้ชีพขั้นสูง  (cardiopulmonary

             resuscitation;  CPR),  การใส่ท่อช่วยหายใจ  (endotracheal  tube  intubation)  และการพ่นยาขยายหลอดลม
             ห้องฉุกเฉินจึงจ�าเป็นต้องมีการเตรียมพร้อมเพื่อป้องกันการแพร่กระจายของเชื้อและป้องกันการติดเชื้อ  ขณะท�าหัตถการ

             ดังกล่าว ทั้งในส่วนของการจัดเตรียมพื้นที่ท�าหัตถการ การก�าหนดแนวทางการปฏิบัติหัตถการในห้องฉุกเฉิน การเตรียม
             ความพร้อมของอุปกรณ์เครื่องมือในการท�าหัตถการ รวมไปถึงการฝึกทักษะของบุคลากร



                     หลักการโดยทั่วไป ให้ค�านึงถึงหลักการตาม 2P safety
                     1) Structure

                     ห้องฉุกเฉินควรมีโครงสร้างที่ปรับเป็นบริเวณสะอาด  (clean  zone)  ส�าหรับผู้ป่วยกลุ่มที่ไม่มีความเสี่ยง
             และบริเวณที่มีการปนเปื้อน (contaminated zone) ส�าหรับผู้ป่วยกลุ่มที่มีความเสี่ยง โดยพิจารณาจากอาการ
             ระบบหายใจและจากแนวโน้มที่จะท�าหัตถการ  (หัวข้อแนวทางการคัดกรองผู้ป่วยตามระดับความรุนแรงและป้องกัน

             ความเสี่ยงต่อการติดเชื้อในห้องฉุกเฉิน) โดยต้องมีการจัดสรรพื้นที่ให้ชัดเจน อาจจะเป็นห้องความดันลบ (negative
             pressure room) เช่น AIIR, modified negative pressure, tent negative pressure หรือ Isolation zone ส�าหรับ

             aerosol-generating procedure
                     เมื่อผู้ป่วยได้รับการคัดแยก แล้วจ�าเป็นต้องได้รับการท�าหัตถการดังกล่าว ผู้ป่วยจะถูกส่งไปยังพื้นที่ที่ห้อง
             ฉุกเฉินเตรียมไว้ ตัวอย่างดังภาพ






























                                                 ภาพที่ 1 กรณีมีห้องความดันลบ




                                แนวทางการดูแลผู้ป่วยฉุกเฉินในสถานการณ์การระบาดของ COVID-19                  9
   4   5   6   7   8   9   10   11   12   13   14