Page 7 - ถาม - ตอบ สารพันปัญหาข้อกฎหมายการบริการทางการแพทย์ เล่ม 2
P. 7

๒. OPD กับการให้ข้อมูล
                   การรักษาผู้ป่วยนอก (OPD) ต้องมีการให้ข้อมูลด้วยหรือไม่

                   เดิมเรื่องการให้ข้อมูลเป็นสิทธิของผู้ป่วย ตามค าประกาศสิทธิผู้ป่วย
            พ.ศ. ๒๕๔๑ และที่แก้ไขเพิ่มเติมปี พ.ศ. ๒๕๕๘ โดยกระทรวงสาธารณสุข

            และสหวิชาชีพทางการแพทย์ แต่ไม่ได้บังคับว่าต้องบอก เจ้าหน้าที่เลยเข้าใจว่า
            ถ้าไม่ถามก็ไม่ต้องให้ข้อมูลก็ได้ ต่อมามีพระราชบัญญัติสุขภาพแห่งชาติ พ.ศ.

            ๒๕๕๐ มาตรา ๘ ก าหนดให้ผู้ให้บริการด้านสาธารณสุขต้องแจ้งข้อมูล
            เกี่ยวกับการให้บริการด้านสาธารณสุขแก่ผู้รับบริการอย่างเพียงพอ

            เพื่อประกอบการตัดสินใจรับหรือไม่รับบริการ จากบทบัญญัติดังกล่าว
            เจ้าหน้าที่ต้องแจ้งข้อมูลเกี่ยวกับการให้บริการรักษาพยาบาลทุกครั้ง ถือเป็น
            หน้าที่ตามกฎหมาย การไม่ปฏิบัติตามจะมีความผิดวินัย ความผิดทาง

            จริยธรรม และอาจส่งผลต่อความรับผิดทางแพ่งและทางอาญา เพราะจะ
            เกี่ยวเนื่องกับการให้ความยินยอม โดยแนวทางพิจารณาของศาล

            ความยินยอมต้องมาจากการรับทราบข้อมูลอย่างเพียงพอและอย่างเข้าใจ
            ของผู้ป่วยหรือผู้มีหน้าที่รับทราบข้อมูลและให้ความยินยอมตามกฎหมาย

            มิฉะนั้นจะถือว่าเจ้าหน้าที่ประมาทเลินเล่อไม่ปฏิบัติตามที่กฎหมายก าหนด
            แล้วท าให้เกิดความเสียหายกับผู้ป่วย ดังนั้น ไม่ว่าผู้ป่วยนอกหรือผู้ป่วยใน

            ก่อนท าการรักษาจะต้องมีการให้ข้อมูลการรักษาพยาบาลอย่างเพียงพอ และ
            ได้รับความยินยอม จึงจะท าการรักษาพยาบาลได้ เว้นแต่จะเป็นไปตาม
            ข้อยกเว้นที่กฎหมายก าหนด









            ถาม - ตอบ สารพันปัญหาข้อกฎหมาย การบริการทางการแพทย์ (เล่ม ๒)
                                                                         ๖
   2   3   4   5   6   7   8   9   10   11   12